บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ (4) เพื่อประเมินผลและรับรองรูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในชั้นเรียนคือนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) อ.เมือง จ.นครพนม ปีการศึกษา 2560 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purpose Sampling) จำนวน 40 คน เครื่องมือ ที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน จำนวน 11 แผน 19 ชั่วโมง แบบฝึกทักษะ 5 เล่ม แบบทดสอบวัดทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และแบบประเมินคุณลักษณะจิตอาสา การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามความคิดเห็นของรูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัย จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูล จากการสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ความเรียง, ร้อยละ, , S.D., การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งข้อมูลเอกสารสำคัญคือ แนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน แนวความคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้ด้วยโครงงาน แนวคิดและทฤษฎีในการสร้างเสริมจิตพิสัย
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก มีคุณภาพโดยรวม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3.1 คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ผลการประเมินคุณภาพภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.0, S.D. = 0.33)
3.2 ผลทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษสามารถอธิบายได้ดังนี้
ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงานทั้ง 4 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นทุกทักษะ ซึ่งผลต่างของค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นแต่ละด้านระหว่างร้อยละ 13.80 19.50 ทักษะการเขียนมีค่าผลต่างของค่าเฉลี่ยสูงที่สุดโดยมีผลต่างของค่าเฉลี่ยร้อยละ 19.50 ส่วนทักษะ การอ่านมีค่าผลต่างของค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดโดยมีผลต่างของค่าเฉลี่ยร้อยละ 13.80 เมื่อพิจารณา เป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3.3 คุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยวสามารถอธิบายได้ดังนี้
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสาของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยครูประเมิน ทั้ง 5 โครงงาน พบว่า ระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้าน จิตอาสา อยู่ในระดับดี เพื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อ 1.1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.38 รองลงมา คือ ข้อ 2.1 เท่ากับ 2.96 และต่ำที่สุด คือ ข้อ 1.2 มีค่าเฉลี่ย 2.67 พบว่านักเรียน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสาเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. ประเมินผลและรับรองรูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.22)
คำสำคัญ : (1) โครงงาน (2) ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ (3) คุณลักษณะจิตอาสา