ชื่อเรื่อง การศึกษาเอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์งานสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางศิริรัตน์ เสนาะเสียง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านท่าช้าง อำเภอปากช่อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 4
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เป็นการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักด าเนินการ หรือท างานตามล าดับขั้นตอน ตามแผนงานที่วางไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2551 ที่ได้ก าหนดไว้ เพราะเอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์ งานสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของตนเอง และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล การศึกษา ในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย
1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์งานสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80
2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์ งานสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์งานสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์)
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์งานสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้อง ก ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านท่าช้าง ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จ านวน
28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่
4.1 แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สร้างสรรค์งานสาน จ านวน 10 แผน
4.2 เอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์งานสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 10 เล่ม
4.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง สร้างสรรค์งานสาน จ านวน 40 ข้อ
4.4 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง สร้างสรรค์งานสาน เป็นแบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จ านวน 18 ข้อ 1 ฉบับ มีค่าอ านาจจ าแนกตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.78 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานด้วย t test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์งานสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 89.10 / 86.33
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์งาน สาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่า เท่ากับ 0.7258 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.58
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์งานสาน กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนทดสอบหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ เอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์งานสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุปเอกสารประกอบการเรียน ชุด สร้างสรรค์งานสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งข้อสนเทศที่ได้จากการศึกษาสามารถ น าไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไป