ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่
ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย เกศกนก อินแปง
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้และหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5/3 โรงเรียน กุงเจริญพิทยาคม ตำบลหัวนาคำ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม แบบแผนในการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Pre Experimental Design) แบบกลุ่มเดี่ยวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสม
และความสอดคล้อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบ พรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT
เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า องค์ประกอบต้องให้ครบตามรูปแบบของการสร้างชุดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT เป็นเนื้อหาที่นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ควรมีรูปภาพประกอบ ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจ ได้ง่าย นักเรียนได้ใช้สื่อทุกอย่างในชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างทั่วถึง โดยครูคอยดูแลและให้คำแนะนำนักเรียนและการวัดผลและประเมินผลควรใช้เครื่องมือที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คู่มือครูและชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยมีค่าดัชนี ความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าประสิทธิภาพแบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 65.83/64.44 ค่าประสิทธิภาพแบบกลุ่มย่อย (Small Group Tryout) เท่ากับ 75.27/74.07 และค่าประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Tryout) เท่ากับ 83.22/82.32
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีประสิทธิภาพ คือ E1/E2 เท่ากับ 84.47/83.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. การประเมินผลและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4MAT โดยรวมอยู่ในระดับมาก
TITLE THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITY PACKAGES
BY USING 4MAT ACTIVITIES IN STRUCTURE AND FUNCTION OF
PLANTS FOR MATHAYOMSUKSA 5 STUDENTS
RESEARCHER KETKANOK INPAENG
ACADEMIC YEAR 2016
ABSTRACT
The purposes of this research were to 1) study the need and fundamental data to develop learning activity packages by using 4MAT activities in structure and function of plants 2) construct and find out efficient of learning activity packages by using 4MAT activities in structure and function of plants 3) implement and find out efficient of learning activity packages by using 4MAT activities in structure and function of plants and 4) to evaluate and improve learning activity packages by using 4MAT activities in structure and function of plants. The samples used for this study were of 36 Mathayomsuksa 5 students at Kungcharoen Pittayakhom School in the second semester of the academic year 2016. The research design was One Group Pretest-Posttest Design. The research instrument were: 1) learning activity packages by using 4MAT activities in structure and function of plants 2) interview form 3) learning achievement evaluation and questionnaire. The obtained data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Dependent t-test and content analysis.
The results of this research were:
1) The results of study of the need and fundamental data indicated that: students and relevant persons want to develop learning activity packages by using 4MAT activities in structure and function of plants regarding pattern of learning activity packages, accuracy, having pictures, and able to use in daily life with the student centered learning activities. There were many instruments for evaluation.
2) The results of learning activity packages by using 4MAT activities in structure and function of plants consist of teacher manual and learning activity packages. Performance inspection found that the course is suitable the consistency index (IOC) between 0.80-1.00. The efficiency score of the individual tryout was 65.83/64.44, the small group tryout was 75.27/74.07 and the field tryout was 83.22/82.32.
3) The results of learning activity packages by using 4MAT activities in structure and function of plants implementation indicated the efficiency score was 84.47/83.43 that was higher than the expected criterion (80/80).
4) The results of the evaluation and curriculum improving indicated that the learning achievement of students after learning was higher than before learning with a different statistic at a significance level of .01. And the opinion on learning activity packages by using 4MAT activities in structure and function of plants in high level.