ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้
เรื่อง ร้อยเอ็ดเพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐาน
และปลูกจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นายวิชัย พ้องเสียง
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยเอ็ดเพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานและปลูกจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยเอ็ดเพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานและปลูกจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยเอ็ดเพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานและปลูกจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยเอ็ดเพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานและปลูกจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีปีที่ 5/1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการเรียนรู้เรื่อง ร้อยเอ็ด เพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน แบบวัดค่านิยมพื้นฐานและจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องการรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยเอ็ดเพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานและปลูกจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีองค์ประกอบหลักคือ คู่มือครู คู่มือนักเรียน มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน ใบความรู้ ใบกิจกรรม แบบทดสอบย่อย และการวัดผลประเมินผล ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า SCADE Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เงื่อนไขในการใช้แบบฝึกทักษะและการขยายผล ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ 1) S : Stimulate : S = กระตุ้นจิตสำนึก 2) C : Construction and Practice = สร้างความรู้ความเข้าใจ 3) A: Application = พัฒนาค่านิยมและปลูกจิตสำนึก 4) D: Discussion = วิเคราะห์อภิปรายผล และ 5) E : Evaluation = การประเมินผล และพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยเอ็ดเพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานและปลูกจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น มีความเหมาะสมและเป็นไปได้
3. ผลทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยเอ็ดเพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานและปลูกจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.87/85.98 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผลการวิเคราะห์วัดค่านิยมพื้นฐานและจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง ร้อยเอ็ดเพชรงามนามสาเกตแห่งแดนอีสาน เพื่อเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานและปลูกจิตสำนึก รักษ์ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดย หลังเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยชุดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด