ชื่อเรื่อง การเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ
โดยใช้กลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางสาวธนาภรณ์ ผิวงาม
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทย อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้กลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.66 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้กลวิธีการอ่านและการคิดระดับสูง สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 12 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.48 ถึง 0.75 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ (Cronbachs Alpha) เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ Dependent Samples)
ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีชี้นำการอ่านและการคิดระดับสูง สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทย อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมามีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.67/89.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความแตกต่างกัน
คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้กลวิธีชี้นำการอ่านและ
การคิดระดับสูง สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับ มากที่สุด