บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตากแดด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา แบ่งการประเมินออกเป็น ๔ ด้านคือ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิต
2 ด้าน คือด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา และความพึงพอใจของครูผู้รับผิดชอบโครงการ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ CIPP Model ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน ๖๒ คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย () ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ผลการประเมินพบว่า
๑. การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
บ้านตากแดด โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านบริบท ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ
๒. การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตากแดด ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(= 4.82) เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า ครูและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ (= 4.94) การสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานภายนอก (=4.94) มีความเหมาะสมและเพียงพอ ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกิจกรรมฐานการเรียนรู้ กล้วย(=4.94) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ความเหมาะสมของคณะกรรมการฯ ดำเนินโครงการ (=4.88) วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดำเนินโครงการโรงเรียนจัดหาอย่างเพียงพอ (=4.88) ครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ความสามารถเหมาะสมและเพียงพอ (=4.81) ความชัดเจนของงบประมาณ ที่ใช้สำหรับดำเนินโครงการ (=4.81 )ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกิจกรรมฐานการเรียนรู้ข้าวไร่ดอกข่า (=4.81)
๓. การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตากแดด ด้านบริบท โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมากที่สุด(= 4.79) เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า มีแหล่งเรียนรู้และฐานกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลให้เกิดการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์และ ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (=4.94) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องและมีความเหมาะสมกับโครงการ (=4.88 ) กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ (=4.88 ) วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน (=4.81 ) ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ (=4.81 )
๔. การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
บ้านตากแดด ด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมากที่สุด(= 4.64) เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติโดยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างชัดเจน ปฏิบัติได้ (=4.92 ) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยให้บรรลุเป้าหมายของโครงการ (=4.90 ) การประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการพอเพียงและต่อเนื่อง(=4.88 )คณะทำงานโครงการร่วมกันทำงานเป็นทีม(=4.86)การติดตามโครงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม(=4.82)
๕. การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
บ้านตากแดด ด้านผลผลิต
๕.1 ด้านผลผลิตการดำเนินโครงการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า
อนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนและทรัพยากรท้องถิ่น (=4.83 )มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ความสามัคคีและการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในทุกภาคส่วน (=4.80 ) รู้จักหน้าที่ของตนเองในการทำกิจกรรมฐานกิจกรรมการเรียนรู้ (=4.71 ) เวลาการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมในแต่ละฐานกิจกรรมการเรียนรู้ (=4.69) มีการวางแผนกิจกรรม กำหนดวันเวลาสถานที่ (=4.69)
๕.๒ การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
บ้านตากแดด ด้านผลผลิตการดำเนินโครงการ ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง พบว่า นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะในการทำกิจกรรมของโครงการในฐานกิจกรรมการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน(=4.96) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการและฐานกิจกรรมการเรียนรู้และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม(=4.96) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมานักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินโครงการในฐานกิจกรรมการเรียนรู้(=4.92) ความเหมาะสมของเวลา-สถานที่ในการจัดโครงการและฐานกิจกรรมการเรียนรู้ (=4.92) อนุรักษ์วัฒนธรรมและทรัพยากรของท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม (=4.92)การใช้ทรัพยากรคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ (=4.92) ความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (=4.92) โรงเรียนนำผลิตที่ได้จากการจัดกิจกรรมตามโครงการมาสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆของโรงเรียน (=4.88)นำความรู้ในฐานกิจกรรมการเรียนรู้มาประกอบอาชีพและรายได้ระหว่างเรียน (=4.88)
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
จากผลการประเมิน พบว่า การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตากแดด โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สามารถนำผลการวิจัยไปปรับใช้และสรุปเป็นข้อเสนอแนะได้ดังนี้
๑ โรงเรียนควรกำหนดนโยบายเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ชัดเจนและต่อเนื่อง
๒ ผู้บริหารต้องสร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนารูปแบบการประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องให้หน่วยงานรับรู้การทำงานของสถานศึกษาทราบความต้องการของพื้นที่ สร้างความหลากหลายของกิจกรรม
๓. ควรเพิ่มวิทยากรผู้ให้ความรู้ให้มากยิ่งขึ้น อาทิเช่น ปราชญ์ชาวบ้านในสาขาอื่นๆเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ที่หลากหลายโรงเรียนควรปลูกฝัง สร้างความตระหนักให้กับนักเรียนเกี่ยวกับการมีวินัยในการใช้จ่าย เช่น การออมทรัพย์ การทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เป็นต้น
4. ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดกิจกรรมและเข้ามาให้นักเรียนมีความ
สนใจกิจกรรมเพิ่มมากขึ้นขณะทำกิจกรรม
๕. ควรพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและหน่วยงานภายนอก
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
๑. การดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตากแดด นั้น จำเป็นที่โรงเรียนควรวางแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน มีประสิทธิภาพ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างใกล้ชิด โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมมือกัน
๒. การดำเนินกิจกรรม ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานให้เกิดความเข้าใจ และดำเนินตามแผนที่วางไว้ โดยประสานผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ร่วมกิจกรรมอย่างเต็มความรู้ ความสามารถ ด้วยความรับผิดชอบ
๓. ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ฯ ผู้ปกครอง ครูผู้รับผิดชอบ และนักเรียน จัดกิจกรรมและให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตากแดด อย่างต่อเนื่อง
๔. การประเมินติดตามผลการดำเนินงานทุกกิจกรรม ในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านตากแดด จะต้องมีการประเมินกิจกรรม ทั้งก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ เมื่อและสิ้นสุดกิจกรรม โดยผู้ดำเนินกิจกรรมทุกฝ่ายจะต้องมี
ส่วนร่วมในการติดตามผล และประเมินผล