บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE)
โรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
สังกัดเทศบาลเมืองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวภควรรณ ศรีสุพรรณ
ปีการศึกษา 2557
การประเมินครั้งนี้ เป็นการประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) โรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี สังกัดเทศบาลเมือง พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) ในการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ(Process) และด้านผลผลิต (Product) ประชากรที่ใช้ในประเมินคือ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน 59 คน กรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน และนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 162 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการสร้างขึ้น ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และนำแบบประเมินที่ได้รับมาวิเคราะห์ แจกแจงความถี่ (Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) โรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี สังกัดเทศบาลเมืองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ ด้านบริบทและด้านผลผลิต เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป พบว่า โครงการประสบความสำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context) มีความเหมาะสมและสอดคล้องอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผลกระทบจากโครงการที่มีต่อสังคม มีความเหมาะสมและสอดคล้องมากที่สุด รองลงมาคือด้านประโยชน์ของโครงการ และด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป แสดงว่าการประเมินโครงการด้านนี้ประสบความสำเร็จ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) มีความเพียงพอและเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสถานที่ในการทำกิจกรรม มีความเพียงพอและเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป แสดงว่าการประเมินโครงการด้านนี้ประสบความสำเร็จ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านขั้นตอนการวางแผน และด้านวิธีการจัดกิจกรรม ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป แสดงว่าการประเมินโครงการด้านนี้ประสบความสำเร็จ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) มีเป้าประสงค์อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านทางเลือกที่เป็นประโยชน์ มีเป้าประสงค์มากที่สุด รองลงมาคือด้านทักษะการปฏิเสธ และด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบยาเสพติด ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายความสำเร็จของโครงการ มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป แสดงว่าการประเมินโครงการด้านนี้ประสบความสำเร็จ