ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติ (O-NET )
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการพัฒนาแบบองค์รวม P- I L- A Model
ของโรงเรียนบ้านพิลา
ผู้ประเมิน นางสาวพิมพ์อุไร หารตุ่น
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านพิลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติ (O-NET ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการพัฒนาแบบองค์รวม P- I L- A Model ของโรงเรียน บ้านพิลา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติ (O-NET ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการพัฒนาแบบองค์รวม P- I L- A Model ของโรงเรียนบ้านพิลา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 21 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 5 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบประเมินจำนวน 6 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินโครงการได้แก่ ผลการดำเนินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบระดับชาติ (O-NET ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการพัฒนาแบบองค์รวม P- I L- A Model ของโรงเรียนบ้านพิลาประยุกต์ใช้กับกรอบการประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP MODEL) 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า ภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด คือ
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ตามความคิดเห็นของบุคลากร ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า หลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือโครงการมีความจำเป็นและตรงต่อความต้องการของโรงเรียนและมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ส่วน สถานศึกษาให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ การจัดบรรยากาศในการดำเนินงานเหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินโครงการ และ ความสำเร็จ และเป้าหมายของโครงการมีความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ตามความคิดเห็นของบุคลากร ในภาพรวมมีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การมี
ส่วนร่วมระหว่างบุคลากรทุกฝ่ายทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการและร่วมทำให้โครงการเป็นไปได้ตามเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการทำงานประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ความร่วมมือด้วยดี และ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรในการจัดการเรียนการสอนตามโครงการ ส่วนงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินโครงการ มีเพียงพอ และเหมาะสม จากต้นสังกัด มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานตามความคิดเห็นของบุคลากร ในภาพรวมมีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โครงการสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนได้จริง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ มีการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผน ส่วน มีการปฏิบัติงานตามโครงการและดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดทุกขั้นตอน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
4. ด้านผลผลิต ของโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยด้านประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ ด้านพฤติกรรมนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ ด้านความพึงพอใจของผู้ปกครองและนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ และด้านผลการทดสอบระดับชาติ ( O-NET ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ
ทุกรายวิชา
ข้อเสนอแนะ
1. จากผลการประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า ประเด็นการประเมิน ได้รับงบประมาณสนับสนุน ในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ และเหมาะสม จากต้นสังกัด มีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนั้นโรงเรียนควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนจัดทางด้านวิชาการ เพื่อสร้างโอกาส และความร่วมมือในการส่งเสริมสนับสนุน ทรัพยากรจากหน่วยงานต้นสังกัดให้มากขึ้น
2.ควรมีการประเมินผลโครงการหลักด้านอื่น ๆ ของโรงเรียนด้วย เพื่อเป็นการตรวจสอบทบทวน และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ก่อนดำเนินโครงการ
3. โรงเรียนควรมีการแลกเปลี่ยน รายงานการประเมินโครงการกับโรงเรียนอื่น เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนให้หลากหลายครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้