หัวข้อการวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะ
การปฏิบัติงานจากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียนการสอน
ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย ฐิติยา หมั่นกิจ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานจากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานจากตาลโตนด เมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานจากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรม การเรียนรู้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานจากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ สังกัด กองการศึกษา เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานจากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการปฏิบัติงานจากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานจากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียน การสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) การทดสอบหาค่าที (t-test dependent) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน จากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้จากผู้เรียน ครู ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ควรมีเนื้อหาให้ความรู้ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นพัฒนาทักษะการปฏิติงาน ใช้ภาษา ที่เข้าใจง่ายชัดเจน มีภาพประกอบสีสันสวยงาม
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานจากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีทั้งหมด 5 ชุดกิจกรรม แต่ละชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1) ชื่อชุดกิจกรรม 2) คำนำ 3) สารบัญ 4) คำแนะนำการใช้สำหรับครู 5) คำแนะนำการใช้สำหรับผู้เรียน 6) มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด 7) สาระการเรียนรู้ 8) จุดประสงค์การเรียนรู้ 9) แบบทดสอบก่อนเรียน 10) ใบความรู้ 11) กิจกรรม 12) เกณฑ์การประเมินกิจกรรม 13) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน 14) เกณฑ์การประเมินทักษะการปฏิบัติงาน 15) แบบทดสอบหลังเรียน 16) เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 17) เกณฑ์การประเมินแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 18) เฉลยกิจกรรม และ 19) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรึกษาและมีค่าประสิทธิภาพ 81.40/85.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานจากตาลโตนด เมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า การเรียนการสอนดำเนินการได้ตามแผนการจัด การเรียนรู้ ผู้เรียนให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
4. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานจากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะ การปฏิบัติงานจากตาลโตนดเมืองเพชรบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ผู้เรียนมีทักษะการปฏิบัติงานระหว่างการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ โดยภาพรวมทักษะการปฏิบัติงานของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 17.08 คิดเป็นร้อยละ 85.41 อยู่ในระดับดีมาก และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม การเรียนรู้ฯ อยู่ในระดับมาก