ชื่องานวิจัย รูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองสิงหนคร ๑ (บ้านยางงาม)
ชื่อผู้วิจัย นายสุชาติ วุฒิมานพ
ปีที่ทำวิจัย 2559
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองสิงหนคร ๑ (บ้านยางงาม) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองสิงหนคร ๑ (บ้านยางงาม) และ (2) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองสิงหนคร ๑ (บ้านยางงาม) ไปใช้ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน และสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำวน 10 คน และ เก็บรวบรวมข้อมูล เชิงปริมาณกับประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การเก็บแบบสอบถาม จำนวน 156 คน
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองสิงหนคร ๑ (บ้านยางงาม) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบย่อย 50 ตัวบ่งชี้
2. ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองสิงหนคร ๑ (บ้านยางงาม) ไปใช้ด้านการเตรียมการ การจัดการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ดังนี้
2.1 ด้านการเตรียมการสอนพบว่าภาพรวมของรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานไปใช้ด้านการเตรียมการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากโดยแนวปฏิบัติที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ ครูมีการติดต่อ ปฏิสัมพันธ์กับผู้นำชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ไว้วางใจของคนในชุมชน (ITEM17) มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีความเหมาะสมเท่ากับ 4.18 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.16 และรองลงมาได้แก่ ครูมีต้องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาและพัฒนาการของผู้เรียน (ITEM14) ) มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีความเหมาะสมเท่ากับ 4.10 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 และแนวปฏิบัติในรูปแบบที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือมีการสำรวจ บันทึกข้อมูลและจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ในชุมชน (ITEM4) มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีความเหมาะสมเท่ากับ 3.62 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72
2.2 ด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่าภาพรวมของรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานไปใช้ด้านการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากโดยแนวปฏิบัติที่มีความเหมาะสมมากที่สุดได้แก่ ครูและผู้ปกครองต้องช่วยส่งเสริมและปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ อนามัย เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังจากเข้าส้วม การแปรงฟัน และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (ITEM30) มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีความเหมาะสมเท่ากับ 4.28 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 และรองลงมาได้แก่ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่น และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เช่น การทำใบงานร่วมกัน
(ITEM39) มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีความเหมาะสมเท่ากับ 4.24 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63 และแนวปฏิบัติในรูปแบบที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือเชิญปราชญ์ชาวบ้าน มาเล่านิทานพื้นบ้าน นิทานส่งเสริมคุณธรรมให้เด็กฟัง (ITEM31) มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีความเหมาะสมเท่ากับ 3.75 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77
2.3 ด้านการวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากโดยแนวปฏิบัติที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ ใช้แฟ้มสะสมงาน ในการประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติจากแหล่งเรียนรู้ที่ครูได้ออกแบบการจัด การเรียนการสอนไว้ (ITEM47) มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีความเหมาะสมเท่ากับ 4.07 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 และรองลงมาได้แก่ มีการชี้แจงและเสนอผลการสังเกตพฤติกรรมและพัฒนาการของผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ (ITEM49) มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีความเหมาะสมเท่ากับ 4.05 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 และแนวปฏิบัติในรูปแบบที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือพัฒนาเครื่องมือในการสอบวัดความรู้โดยเน้นสถานการณ์ ภาพประกอบหรือเรื่องเล่าจากชุมชนจริง (ITEM45) มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีความเหมาะสมเท่ากับ 3.93 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63