ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก
ผู้วิจัย พรทิพย์ ภู่ศรีประสาท
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราชที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2560 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจากนักเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความ
2) การพัฒนารูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นใช้ชื่อเรียกว่า PITSGC Model มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นนำเสนอบทเรียน(Present) 2) ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน(Importing) 3) ขั้นสอน(Teaching) 4) ขั้นศึกษาและทดสอบกลุ่มย่อย(Subgroup Testing) 5) ขั้นการให้คะแนนและความสำเร็จของกลุ่ม(Group Rating) และ 6) ขั้นสรุป(Conclusion) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านภาษาไทย ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ต้องการให้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข เพราะมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ควบคู่กับกิจกรรมกลุ่มและการทำแบบฝึกหัด บทเรียนมีภาพสีสันสดใส มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อพร้อมทั้งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบรายบุคคล(Individual Tryout) เท่ากับ 78.33/76.67 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 80.73/78.13 และค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 จากการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 80.28/80.43 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 34 คนได้ค่าประสิทธิ ภาพ E1 / E2 เท่ากับ 80.78/81.67 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านตีความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1อยู่ในระดับมาก