บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางกายภาพและสังคมประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางกายภาพและสังคมประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางกายภาพและสังคมประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ประชากรที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคุรอด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางกายภาพและสังคมประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางกายภาพและสังคมประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางกายภาพและสังคมประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของ
นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางกายภาพและสังคมประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผลการศึกษาพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางกายภาพและสังคมประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 88.35/85.69 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดและสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางกายภาพและสังคมประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งมีผลการพัฒนาเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 41.29 และ
3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางกายภาพและสังคมประเทศไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด