ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ
ด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาล ๓
(พรหมรวมมิตร)
ผู้วิจัย : นางสาวสร้อยกัญญา โพธิสมภาพวงษ์
ตำแหน่ง : ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน : โรงเรียนอนุบาลเทศบาล ๓ (พรหมรวมมิตร)
ที่ปรึกษา : นางสาวสุวิชา พวงจันทร์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ โรงเรียนอนุบาลเทศบาล ๓ (พรหมรวมมิตร)
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาล ๓ (พรหมรวมมิตร) เป็นการสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม ตามแนวคิดของ ADDIE Model ของเควิน ครูส (Kevin Kruse,2008,p 1)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเชิงนโยบายการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี) เพื่อวิเคราะห์สภาพที่คาดหวังตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยพร้อมตัวบ่งชี้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 กับสภาพความเป็นจริงของการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือ และการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ทั้งแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และเพื่อสังเคราะห์และเปรียบเทียบแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบวิจัยแบบเชิงทดลอง (Pre Experimented Design) โดยประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่าง มีการทดสอบก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้(The One Group Pretest Posttest Design)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารที่ใช้ศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 วิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามผู้ปกครองนักเรียนถึงความต้องการ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการโรงเรียนและครูผู้สอนระดับปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเทศบาล ๓ (พรหมรวมมิตร)จำนวน 1 ฉบับ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีองค์ประกอบหลัก คือ หลักการที่อยู่บนพื้นฐานมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนและครูผู้สอน วัตถุประสงค์รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปัน สาระและกระบวนการ กิจกรรมและขั้นตอนดำเนินกิจกรรม ระยะเวลาและการวัดผลและประเมินผล การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ 2) มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และ 3) มีส่วนร่วมในการประเมินผลและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมผู้เรียน 2) ขั้นปฏิบัติกิจกรรมและ 3) ขั้นประเมินผล
รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1 ) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2 ) เท่ากับ 84.39/84.24 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 หลังการจัดประสบการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 เพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดประสบการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ครูผู้สอนมีระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (X- = 4.90, =0.91)
ผู้ปกครองนักเรียนมีระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X- = 2.76, X-=0.43)
ในการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ คือ ครูผู้สอนควรมีบุคลิกลักษณะ มีความรู้ตามสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถใช้ภาษาสื่อสารได้ชัดเจน มีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้สอดคล้องกับพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปัน ครูผู้สอนควรติดตามผลการบันทึกพฤติกรรมด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันจากผู้ปกครองนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อติดตามผลพฤติกรรมด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัยและแสดงให้ผู้ปกครองนักเรียนได้เห็นถึงความสำคัญของการติดตามพฤติกรรมด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันดังกล่าว อีกทั้งยังเป็น การกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับครูผู้สอนซึ่งผลการมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันส่งผลถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อติดตามและประเมินความคงอยู่ของพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม
2. ควรมีการศึกษาวิจัยหรือพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือและการแบ่งปันของเด็กปฐมวัย ที่เหมาะสมกับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ปกครองนักเรียน
3. ควรมีการศึกษาพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครอง มีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่น ๆ เช่น การให้ความร่วมมือ การกล้าแสดงออก เป็นต้น
4. ควรมีการศึกษาหรือพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่น ๆ เช่น ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และสติปัญญา เป็นต้น