ชื่อเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาความฉลาด
ทางอารมณ์ด้านดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย นางดวงนภา พสุพงศ์ธร
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษา และศึกษาข้อมูลระดับความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) สร้างโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี โดยใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้โปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี โดยใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ประเมินผลการใช้โปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/7 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 4 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี จำนวน 1 ห้อง นักเรียนจำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ 2) โปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้ร่วมกับโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี 4) แบบประเมินคุณภาพของโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีพร้อมแผนการสอน 5) แบบประเมินผลการใช้โปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี 3 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 16 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองครั้งนี้เป็นแบบ One-Group PretestPosttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล 4 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี ในภาพรวม พบว่า ทุกรายวิชามีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 ยกเว้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ซึ่ง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ร้อยละ 50 คือ 60.22 และจากการศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบันด้านความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อจะได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ให้นักเรียนทำแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารสุข พบว่า นักเรียนทั้งหมด จำนวน 364 คน มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ 326 คน คิดเป็นร้อยละ 94.22 และอยู่ในระดับปกติ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 5.78 ผลการประเมินดังกล่าวจะเห็นได้ว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ควรได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้มีความฉลาดทางอารมณ์ที่สูงขึ้น และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ที่ต้องได้รับการพัฒนาจากมากไปหาน้อยเป็นดังนี้ ด้านดี ด้านสุข และด้านเก่ง ตามลำดับ ดังนั้น ผู้วิจัยมีความเห็นว่าควรพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีให้แก่ผู้เรียน
2. ผลการพัฒนาโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏผลดังนี้ คุณภาพของโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี ในภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.94) ส่วนแผนการจัดการเรียนรู้ตามโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี ในภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.70)
3. ผลการใช้โปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งก่อนและหลังได้รับการทดลองใช้โปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ในองค์ประกอบด้านดี หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ว่า และเมื่อพิจารณาความฉลาดทางอารมณ์เป็นรายด้านในองค์ประกอบด้านดี นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ในด้านดี หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง 3 ด้านย่อย ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และความฉลาดทางอารมณ์ที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงไปหาต่ำเป็นดังนี้ ด้านความรับผิดชอบ ด้านเห็นใจผู้อื่น และด้านควบคุมตนเอง ตามลำดับ
4. ผลการประเมินการใช้โปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ดำเนินการประเมิน ผลการใช้ทั้ง 3 ด้าน ปรากฏผลดังนี้
4.1 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า ในภาพรวม ด้านปัจจัยนำเข้าโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.77, S.D. = 0.42)
4.2 ด้านกระบวนการ (Process) ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า ในภาพรวม ด้านปัจจัยนำเข้าโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.78, S.D. = 0.42)
4.3 ด้านผลลัพธ์ (Output) โดยการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนด้วยโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 36 คน ในภาพรวมพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี อยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.63, S.D. = 0.48)