ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือการสอนคิด (Thinking Tools) เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์
ผู้ศึกษา : นางสาวภคมน ขุนรักษ์
ปีที่ศึกษา : ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์.1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือการสอนคิด (Thinking Tools) เพื่อการส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือการสอนคิด (Thinking Tools) เพื่อการส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ 4) เพื่อปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือการสอนคิด (Thinking Tools) เพื่อการส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 36 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ รูปแบบการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือการสอนคิด (Thinking Tools) เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามปัญหาการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด คำขวัญเมืองลุงบ้านลุงเท่ง โดยใช้เครื่องมือสอนคิด (Thinking Tools) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์และ การใช้หลักภาษาไทย 4) หนังสือส่งเสริม การอ่าน ชุด คำขวัญเมืองลุงบ้านลุงเท่ง จำนวน 7 เล่ม และ5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-Dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1.ปัญหาการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปัญหาด้านผู้สอน คือ ครูสอนเนื้อหาในหนังสือเรียนเป็น ส่วนใหญ่ ( = 4.64) ปัญหาด้านผู้เรียน คือ ผู้เรียนไม่ชอบอ่านหนังสือ (= 3.87) ปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอน คือ สื่อการสอนไม่ทันสมัย (= 4.39) ปัญหาด้านเนื้อหาหลักภาษาไทย คือ เนื้อหายากเกินไปสำหรับผู้เรียน (= 4.24)
2. รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน สาระความรู้ และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งนี้ กระบวนการเรียนการสอน มี 4 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นที่ 1 Do Now (D) เพื่อฝึกสมาธิของนักเรียน ขั้นที่ 2 Purpose (P) แจ้งจุดประสงค์ สร้างความกระจ่างทั้งต่อครูและนักเรียนในเรื่องที่จะเรียนรู้ ทิศทางการเลือกข้อมูล เนื้อหา ขั้นที่ 3 Work Mode (W) ปฏิบัติกิจกรรมนำเข้าสู่เนื้อหาในหลักสูตรด้วยเครื่องมือสอนคิด 5 เครื่องมือ คือ PMI Compare and Contrast Six Thinking Hat KWL และ Mind Map ขั้นที่ 4 Reflective Thinking (R) การคิดแบบสะท้อนกลับ เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ ผลการตรวจสอบรูปแบบการเรียนการสอนเรฟก้า (DPWR Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.67–1.00 และความเป็นไปได้ของรูปแบบมีค่าดัชนีรายข้อ มีค่าระหว่าง.0.67–1.00
3..ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน มีค่าเท่ากับ 88.88/87.75 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านคิดวิเคราะห์และการใช้หลักภาษาไทยก่อนเรียนและ หลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการปรับปรุงรูปแบบการสอนในเรื่องระยะเวลาในแผนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับกิจกรรม