ชื่อเรื่อง การพัฒนากระบวนการคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม (ส22102) สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล
ผู้ศึกษา ณัฏฐนิช อันปัญญา
สถานที่ โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนากระบวนการคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส22102) สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนากระบวนการคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อพัฒนากระบวนการคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อ การพัฒนากระบวนการคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของกระบวนการคิดของนักเรียนจาก ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน จำนวน 3 ฉบับ 2) แผนการจัดการเรียนการสอนกระบวน การคิดของนักเรียน จำนวน 15 แผน 3) ชุดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ จำนวน 5 ชุด
4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนจาก ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนากระบวนการคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.1 โดยใช้แบบสอบถามคณะครู จำนวน 19 คน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( =1.86) ( =0.67)
1.2 โดยใช้แบบสอบถามผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 25 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด ( =1.02) ( =0.58)
1.3 โดยใช้แบบสอบถามนักเรียน จำนวน 25 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด ( =0.96) ( =0.74)
2. ผลการพัฒนากระบวนการคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
2.1 กิจกรรมธนาคารโรงเรียน
2.2 กิจกรรมการเพาะเห็ด
2.3 กิจกรรมการทำเหรียญโปรยทาน
2.4 กิจกรรมการทำชาจากใบย่านาง
2.5 กิจกรรมการทำดอกไม้จันทน์
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนากระบวนการคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
3.1 โดยใช้แบบสอบถามครู จำนวน 19 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.23) ( =0.63)
3.2 โดยใช้แบบสอบถามผู้ปกครอง จำนวน 25 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.45) ( =0.61)
3.3 โดยใช้แบบสอบถามนักเรียน จำนวน 25 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.20) ( =0.64)