ชื่องาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิด
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
วิชาเคมี เรื่อง ของแข็งของเหลว แก๊ส
ชื่อผู้วิจัย นางวิภาวี ไชยศรีจันทร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัด
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิด
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัด
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน
30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 วิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในทางคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที แบบไม่อิสระ (t-test dependent) และ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (rxy)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส มีชื่อว่า
PPAHTSSP Model จากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 8 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์
กระบวนการจัดการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน สาระความรู้ และสิ่งส่งเสริม
การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้มี 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้(Prepare to learning step) 2) ขั้นกำหนดปัญหา (Problem setting step) 3) ขั้นวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการศึกษาค้นคว้า (Analyze problem and plan education step) 4) ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypothesis step) 5) ขั้นการทดสอบสมมติฐานและดำเนินการศึกษาค้นคว้า (Test the Hypothesis and
Conduct the study step) 6) ขั้นสังเคราะห์และทดสอบข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า (Synthesis and testing step) 7) ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ (Summary of learning outcomes step) 8) ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน(Presentation and evaluation step) และค่าประสิทธิภาพ(E1/E2) ของรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 79.92/78.17 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 75/75 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน วิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิด มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05