บทคัดย่อ
¬ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองบัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล CIPP Model ของ Daneiel L.Stufflebeam ที่มุ่งประเมินใน 4 ด้านคือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองบัว จำนวนทั้งสิ้น 100 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X-bar ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองบัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลผลิต รองลงมาคือ ด้านบริบท ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอันดับที่สาม คือ ด้านกระบวนการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น ผลการประเมินรายด้านปรากฏดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ/เขตพื้นที่การศึกษา/โรงเรียน ( X-bar = 4.85 ) โครงการมีเป้าหมายชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริง (X-bar = 4.76 ) และมีการศึกษาความต้องการที่จำเป็นก่อนดำเนินโครงการ ( X-bar = 4.74 )
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มี ความเหมาะสมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ บุคลากรที่ร่วมดำเนินโครงการ มีความรู้และเข้าใจใน การดำเนินงานของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (X-bar = 4.65 ) โรงเรียนและชุมชนมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ (X-bar = 4.64 ) และโรงเรียนมีวัสดุ อุปกรณ์ เหมาะสมและเพียงพอ (X-bar = 4.63 )
3. ด้านกระบวนการ พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มี ความเหมาะสมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มีการประชุมชี้แจง นโยบาย และวัตถุประสงค์ของโครงการก่อนดำเนินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (X-bar = 4.79) การดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมในโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้หลักการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ( X-bar = 4.73 ) และมีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบอย่างเหมาะสมในการดำเนินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ( X-bar = 4.71 )
4. ด้านผลผลิต พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มี ความเหมาะสมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ โครงการบรรลุเป้าหมาย ควรดำเนินการโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อไป (X-bar = 4.88 ) กิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น (X-bar = 4.83 ) และโรงเรียนมีบรรยากาศอบอุ่นเหมือนบ้าน นักเรียนและครูมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทำให้นักเรียนมีความสุขเมื่อได้มาโรงเรียน (X-bar = 4.80 )