ชื่อเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยงานประดิษฐ์ สำหรับ
เด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM)
ผู้รายงาน จรูญศรี รื่นมิตร
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยงานประดิษฐ์ และเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยงานประดิษฐ์ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 1/3 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยงานประดิษฐ์ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพ (Thinking creativity with picture) และแบบสังเกตพฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยงานประดิษฐ์ สำหรับเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.45/81.19
2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยงานประดิษฐ์ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM) มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลจากแบบสังเกตพฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์ พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยงานประดิษฐ์ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM) มีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น