ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5 - 6 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
ผู้วิจัย : จงอร ศรีสวัสดิ์
ตำแหน่ง : ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน)
ปีที่ทำวิจัย : ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5 - 6 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ 2) เพื่อทดลองและศึกษาผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โดยการเปรียบเทียบความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) ซึ่งตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ประเมินความเหมาะสม ความสอดคล้องขององค์ประกอบของแบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหา ภาษาที่ใช้ กิจกรรม สื่อและระยะเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 จำนวน 9 คน ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เก่ง ปานกลาง และอ่อน อย่างละ 3 คน เพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และทกสอบใช้จริงกับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจับ คือ แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) จำนวน 10 ชุด สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงมาตรฐาน และ ค่า E1/E2
ขั้นตอนที่ 2 การทดลองและศึกษาผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 29 คน ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากคะแนน แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ จากนั้นทำการทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 29 คน ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของนักเรียนแบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ มีประสิทธิภาพ ในการทดลองกับนักเรียน จำนวน 3 คน มี มีประสิทธิภาพ 81.17/80.00 ทดลองแบบฝึกกับ จำนวน 9 คน มีประสิทธิภาพ 83.28/82.22 และผลการทดลองกับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 29 คน มีประสิทธิภาพ 84.42/83.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) มีผลการเปรียบเทียบด้านฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) โดยการสัมภาษณ์นักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนมีความสนใจในแบบฝึกที่ได้เรียน อยากเรียนรู้และสนุกสนานกับการจัดกิจกรรม ให้ความร่วมมือและกระตือรือร้นในการเรียนดีมาก