ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงสืบเสาะแบบร่วมมือ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย นายภัทรพงษ์ เมธาคุณวุฒิ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้
เชิงสืบเสาะแบบร่วมมือ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้
เชิงสืบเสาะแบบร่วมมือ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงสืบเสาะแบบร่วมมือ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้เชิงสืบเสาะแบบร่วมมือ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 38 คน ปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ด้วยการจับสลาก ใช้ห้องเรียนในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้
เชิงสืบเสาะแบบร่วมมือ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบประเมินความเหมาะสม
ของรูปแบบการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ พบว่า ควรมีการจัดการเรียนรู้ ที่เร้าความสนใจ เน้นการสืบเสาะ ค้นคว้า หาความเรียนรู้ด้วยตนเอง ปฏิบัติจริงด้วยการทดลอง มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่หลากหลาย ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาแนวการสอนวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2. รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า SIDEAM Model มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนรู้ 4) สาระความรู้ 5) สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 6) หลักการตอบสนอง 7) เงื่อนไข ในการนำรูปแบบไปใช้ 8) สิ่งสนับสนุน 9) การประเมินผล มีกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นแนวคิด (Support Point Concept : S) 2) ขั้นสืบเสาะ ค้นคว้า และทดลอง (Inquire Ascertain and Axperiment : I) 3) ขั้นอภิปรายและสรุปผล (Discussion and Conclude : E) 4) ขั้นประเมิน (Evaluation : E) 5) ขั้นประยุกต์และนำไปใช้ (Apply and Reuse : A) 6) ขั้นสร้างผลงาน (Make Work : M) รูปแบบการเรียนรู้เชิงสืบเสาะแบบร่วมมือ ร่วมกับ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.13/80.61 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงสืบเสาะ แบบร่วมมือ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.58 , S.D. = 0.03)