ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางนันทน์ชญาน์ ทิพยดลคำวอน
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 3 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวนนักเรียน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การใส่ใจสุขภาพ 4) แบบสัมภาษณ์ครู สภาพปัญหาและความต้องการต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและความต้องการต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 6) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 7) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ 8) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 9) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน 10) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 11) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เวลาที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง 18 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองเป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และการทดสอบที (t-test dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ครูผู้สอนต้องการให้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ เพื่อสามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มุ่งพัฒนาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงและได้รู้จักการคิดวิเคราะห์ กล้าตัดสินใจ แก้ปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.354.75 และนักเรียนต้องการให้มีจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออก การคิดวิเคราะห์ กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง และการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อช่วยกันคิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.40 4.67
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏผลดังนี้ ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีชื่อว่า PIMPA Model โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) ทฤษฎี/หลักการ/ แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ มี 5 ขั้นตอน คือ 3.1) ขั้นเตรียมการ (Preparation) 3.2) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Interaction) 3.3) ขั้นปัญญาความคิด (Mentality Intelligence) 3.4) ขั้นปฏิบัติการ (Process Learning) 3.5) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Application) 4) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีคุณภาพเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.81, S.D = 0.36) และแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.78, S.D = 0.41) ผลการพัฒนารูปแบบการจัด การเรียนรู้ก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า การหาประสิทธิภาพรายบุคคล 63.47/62.86 การหาประสิทธิภาพกลุ่มย่อย 76.85/75.36 และการหาประสิทธิภาพภาคสนาม 82.66/81.52
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 85.41/84.61 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างภายหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างภายหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ดำเนินการประเมินทั้ง 3 ด้าน พบว่า 1) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 8 คน มีความเห็นว่าด้านปัจจัยนำเข้ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D = 0.49) 2) ด้านกระบวนการ (Process) ผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีความเห็นว่าด้านกระบวนการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D = 0.46) และ 3) ด้านผลลัพธ์ (Output) ในภาพรวมพบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในระดับมาก ( = 4.46, S.D = 0.51)