ชื่อผู้วิจัย : ยุวนิษฐา เจริญผล
ชื่อผลงานทางวิชาการ : รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ขนมอบจากพืชในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2559
สถานที่วิจัย : โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ปีวิจัย : 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ขนมอบจากพืชในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design กำหนดวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ขนมอบจากพืชในท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ขนมอบจากพืชในท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ขนมอบจากพืชในท้องถิ่นสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2559 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2559ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ขนมอบจากพืชในท้องถิ่น
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2559จำนวน 49 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สถิติในการหาคุณภาพของเครื่องมือ ประกอบด้วยค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและเชิงพินิจ (Index of Item Objective Congruence : IOC) ค่าอำนาจจำแนก (B) ของข้อสอบรายข้อ ค่าความยากง่าย (P) ของข้อสอบรายข้อ และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 2) สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) สถิติเชิงทดสอบ ได้แก่ สถิติเชิงทดสอบ t-test (Dependent Samples)
สรุปผลวิจัยดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ขนมอบจากพืชในท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.40/87.99 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 โดยมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ขนมอบจากพืชในท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6330
3. หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ขนมอบจากพืชในท้องถิ่น ทั้ง 8 แผน ให้แก่นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 49 คน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. โดยรวมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2559 พึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ขนมอบจากพืชในท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.64) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวัดและประเมินผล ( = 4.82, S.D. = 0.48) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( = 4.80, S.D. = 0.49) ด้านเนื้อหา ( = 4.61, S.D. = 0.75) และด้านสื่อและอุปกรณ์ในการเรียนการสอน ( = 4.60, S.D. = 0.76)