ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนซิปปา(CIPPA MODEL) โดยใช้เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านกันทรารมย์
ผู้วิจัย นางสาวเพ็ญศิริ สุภารัตน์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านกันทรารมย์ ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนซิปปาโดยใช้เอกสารประกอบการสอน เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่สามารถพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพได้ครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ได้พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนซิปปา โดยใช้เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนด้วยจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือตามรูปแบบการสอนซิปปา 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนด้วยรูปแบบการสอนซิปปา เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาในการวิจัยระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ถึงวันที่ 19 มกราคม 2561 จำนวน 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ เอกสารประกอบการการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ จำนวน 11 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนซิปปา CIPPA MODEL กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ จำนวน 12 แผนการเรียนรู้ จำนวน 12 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก(P)0.25 ถึง 0.78 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.50 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ( )เท่ากับ 0.85 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนซิปปา CIPPA MODEL จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.80 และค่าความเชื่อมั่น( )เท่ากับ 0.91 รูปแบบการวิจัยใช้แบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์ประสิทธิภาพ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติ t-test for dependent ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการสอนเรื่อง ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือตามรูปแบบการสอนซิปปามีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.88/80.90
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการสอนด้วยรูปแบบการสอนซิปปา มีค่าเท่ากับ 0. 62.62 หมายความว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 62.62
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนด้วยรูปแบบการสอนซิปปา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.64 , S.D = 0.16)
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการสอนซิปปาโดยใช้เอกสารประกอบการสอน สามารถพัฒนาผู้เรียนในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ จึงควรนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป