บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
คณิตศาสตร์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา : นางสุฉวี สุวรรณภาวงค์
โรงเรียน : โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 2 อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
กลุ่มสาระ : กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการศึกษาค้นคว้า เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ
คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการสอนด้วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้ง
ไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล ของการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ
เพื่อหาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ หลังจากนักเรียนได้รับการสอนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง
เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 2 อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษา เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
จำนวน 1 ห้อง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวนทั้งหมด 22 คน โดยได้มาจาก
การเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากห้องที่โรงเรียนได้มอบหมาย
ให้ผู้ศึกษาค้นคว้าเป็นผู้รับผิดชอบการสอนเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยที่ผู้ศึกษาค้นคว้าเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง ใช้เวลาในการสอน 16 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง
แบบ One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t-test for Paired Samples และค่าสถิติ t-test One Sample ซึ่งสรุปสาระสำคัญและผลการศึกษาได้ ดังนี้
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1.ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มี
ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพ 83.77/89.09 แสดงว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ที่ตั้งไว้
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการสอน
ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการสอนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนได้รับการสอนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผล ของการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยแบบฝึกทักษะแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.8080 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.80
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ หลังจากนักเรียนได้รับการสอนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ย
ความพึงพอใจของนักเรียนในภาพรวมโดยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.21 ,
S.D. = 0.34) และคิดเป็นเฉลี่ยรวมเป็นร้อยละ 84.20 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้