ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดมะนาวหวาน
ลักษณะผลงาน : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบ
ชื่อผู้ประเมิน : นายวิชาญ ศรีอักษร ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมะนาวหวาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ปีพุทธศักราช : 2559
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดมะนาวหวาน
ปีการศึกษา 2559 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินด้าน สภาพแวดล้อมของโครงการ (2)เพื่อประเมินด้านปัจจัยของโครงการ (3)เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ (4)เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้แก่ ครูและบุคลากร จำนวน 12 คน นักเรียน จำนวน 61 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 114 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ (1) แบบสอบถามด้านสภาพแวดล้อม (2) แบบสอบถามด้านปัจจัย (3) แบบสอบถามด้านกระบวนการ (4) แบบสอบถามด้านผลผลิต (5) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน (6) แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการ (7) แบบบันทึกสุขภาพของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ การหาค่าความสอดคล้อง (IOC) การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และการหาค่าอำนาจจำแนก (r) เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า
ผ่านเกณฑ์การประเมินและในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัดมีดังนี้
1.1 ด้านความจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.2 ด้านความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่าผ่านเกณฑ์
การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.3 ด้านความเหมาะสมของการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.4 ด้านความความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด / โรงเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินและในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัดมีดังนี้
2.1 ด้านความพร้อมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.2 ด้านความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2.3 ด้านความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินและ
อยู่ในระดับมาก
2.4 ด้านความเหมาะสมด้านการบริหารจัดการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
และอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ โดยการประเมิน 2 ตัวชี้วัด พบว่า
ผ่านเกณฑ์การประเมินและในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัดทั้ง 2 ตัวชี้วัดมีดังนี้
3.1 ด้านกระบวนการขั้นตอนสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินและอยู่ในระดับมาก
3.2 ด้านกระบวนการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัดมีดังนี้
4.1 ด้านการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
โดยอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ด้านความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ พบว่า
ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 สภาวะสุขภาพของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินโครงการ ในภาพรวมของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการประเมินทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยของโครงการ และด้านกระบวนการ และตัวชี้วัดทั้ง 14 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน 14 ตัวชี้วัด โดยอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก 10 ตัวชี้วัด