บทคัดย่อ
การศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนรู้การแยกตัวประกอบของพหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 5
(ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้การแยกตัวประกอบของพหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 5 (ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้การแยกตัวประกอบของพหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 5 (ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้ชุดการเรียนรู้การแยกตัวประกอบของพหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 5 (ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ที่เรียนหลักสูตรส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้การแยกตัวประกอบของ
พหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 5 (ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 5 (ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์
เพิ่มเติม 5 (ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้
ชุดการเรียนรู้การแยกตัวประกอบของพหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 5 (ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t test) ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดการเรียนรู้การแยกตัวประกอบของพหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 5
(ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.67/81.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้การแยกตัวประกอบของพหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 5 (ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้การแยกตัวประกอบของพหุนาม รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 5 (ค23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 อยู่ในระดับมากที่สุดและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65