ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางวิชาการของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
ผู้ประเมิน นางสนธยา ส่งศรี
ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)
วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ประเมิน 2559
บทคัดย่อ
การประเมินในครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อประเมินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางวิชาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2559 ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model จากแนวคิดของสตัฟเฟีลบีม โดยขยายผลผลิต (Product Evaluation) ออกเป็น IEST (I : Impact Evaluation , E : Effeetiveness Evaluation , S : Sustainable Evaluation , T : Transportation Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครู จำนวน 24 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 324 คน ผู้ปกครอง จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย( X,μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. , σ)
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินบริบท (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงจากสูงไปต่ำ คือด้านความต้องการจำเป็น ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และด้านความเป็นไปได้ของโครงการ ตามลำดับ ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงสูงไปต่ำ คือด้านความพอเพียงของวัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณ ด้านความเหมาะสมของบุคลากร ด้านการบริหารจัดการโครงการ และด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน ตามลำดับ ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 1) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการนิเทศติดตามโครงการ รองลงมา คือด้านกิจกรรมที่ดำเนินการ 2) ตามความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการนิเทศติดตามโครงการ รองลงมา คือด้านกิจกรรมที่ดำเนินการ 3) ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านกิจกรรมที่ดำเนินการ รองลงมา คือด้านการติดตามโครงการ ทุกด้านผ่านเกณฑ์ การประเมิน
4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
6. การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
7. การประเมินความยั่งยืน (Sustainable Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
8. การประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transportation Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปได้ว่า โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางวิชาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 8 ด้าน ควรดำเนินการต่อไปได้
 
Title : Evaluation of Project on Academic Increase Performance of Upper Secondary Students at
Tessaban 5 (Wat hua pom nork) School under the Jurisdiction of Songkhla City Municipality,
Songkhla Province.
Evaluator : Mrs. Sontaya Songsri
Assistant Director of Tessaban 5 (Wat hua pom nork) School
Year : 2016
Abstract
The objective of this evaluation was to assess the project of academic increase performance of upper secondary school students at Tessaban 5 (Wat hua pom nork) School in the 2016 academic year using the CIPPIEST Model based on Stufflebeams evaluation method. The model extended the Product into the IEST notion standing for Impact, Effectiveness, Sustainability and Transferability, respectively. The Impact existed beyond the product, followed by Effectiveness of the product, which should be Sustainable. Finally the product should possess the attribute of Transportation, i.e. transferrable on a continuous basis. The sample for the study consisted of 4 school administrators and 24 teachers and 13 members of school board, drawn according to the purposive sampling technique, and 324 students and 324 parents, drawn from the simple sampling technique proposed by Krejcie and Morgan. The instrument used in the study included three sets of questionnaires and the data were analyzed using such statistics as percentage, arithmetic means and standard deviations. The findings of the study reveal the following.
1. Overall, the context evaluation as perceived by the school administrators, teachers and members of school board at the high level, where need assessment having the highest means, followed by immediate objectives, fitness of objectives and project feasibility, respectively. Through all the evaluation criteria.
2. Overall, the input evaluation as perceived by the school administrators, teachers, members of school board at the high level, where adequacy of materials, equipment and budget having the highestmeans,followed by appropriatenessofhuman resources, projectmanagementandlengthof time of projectimplementation, respectively. Through allthe evaluationcriteria.
3. Overall, the processevaluation asperceived by the schooladministrators, teachers,members of schoolboard atthehigh level, where project follow-up having the highestmeans, followedbyactivitiesforimplementation,respectively.By the studentsat thehighest level, where project follow-up having the highestmeans,followed byactivities for implementation,respectively. And by the parentsatthehigh level, where activities for implementationhaving the highestmeans, followed by project follow-up, respectively. Through allthe evaluationcriteria.
4. Overall, the productevaluation asperceived by the schooladministrators, teachers,membersofschoolboard,studentsand parentsatthehigh level.Allthroughtheevaluationcriteria.
5. Overall, the impactevaluation asperceived by the schooladministrators, teachers,members of school board,students and parents at thehigh level.Allthroughtheevaluationcriteria.
6.Overall,theeffectivenessevaluationasperceivedbytheschooladministrators,teachers,membersofschoolboard,studentsand parentsatthehigh level.Allthroughtheevaluationcriteria.
7. Overall, the sustainability evaluation as perceived by the school administrators, teachers,membersofschoolboard,studentsand parentsatthehigh level.Allthroughtheevaluationcriteria.
8.Overall,thetransferability evaluation asperceived by theschooladministrators, teachers,membersofschoolboard,studentsand parentsatthehigh level.Allthroughtheevaluationcriteria.
The resultwas concluded thatof Project on Academic Increase Performance of UpperSecondary StudentsatTessaban5 (Wathuapomnork) SchoolundertheJurisdiction of SongkhlaCity Municipality,SongkhlaProvince,passed theassessmentthrough8 aspectsaboveand was able to continue.
 
สนธยา ส่งศรี. (2559). การประเมินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางวิชาการของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินในครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อประเมินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางวิชาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2559 ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model จากแนวคิดของสตัฟเฟีลบีม โดยขยายผลผลิต (Product) ออกเป็น IEST I คือ Impact เป็นผลกระทบ ที่นอกเหนือจากผลผลิต E คือ Effeetiveness เป็นประสิทธิผลที่เกิดขึ้น S คือ Sustainable เป็นความยั่งยืนของผลที่เกิดขึ้น และ T คือ Transportation เป็นผลที่สามารถถ่ายทอดขยายผล ต่อเนื่องได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครู จำนวน 24 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 324 คน ผู้ปกครอง จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (, μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. , σ) X
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินบริบท (Context Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นด้านความต้องการจำเป็นมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความเป็นไปได้ของโครงการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ซึ่งปรากฏว่าทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมผลการประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความพอเพียงของวัสดุอุปกรณ์และงบประมาณมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านความเหมาะสมของบุคลากรผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านระยะเวลาในการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏว่าทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 1) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการนิเทศติดตามโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านกิจกรรมที่ดำเนินการผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 2) ตามความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการนิเทศติดตามโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านกิจกรรมที่ดำเนินการผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมที่ดำเนินการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านการนิเทศติดตามโครงการผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ซึ่งปรากฏว่าทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือผลการพัฒนาศักยภาพความสามารถพิเศษของนักเรียนผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏว่าทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) 1) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ในภาพรวมผลการประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ชุมชนมีความเชื่อมั่นต่อโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพ ส่วนความคาดหวังในการสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 2) ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมผลการประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ชุมชนมีความเชื่อมั่นต่อโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพตามความสามารถของนักเรียน และโรงเรียนได้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนความคาดหวังในการสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏว่าทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
6. การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมผลการประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความรู้ที่นักเรียนได้รับเพียงพอต่อการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือความพึงพอใจในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจในผลการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏว่าทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
7. การประเมินความยั่งยืน (Sustainable Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมผลการประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือนักเรียนสามารถบูรณาการความรู้ ทักษะ กระบวนการปฏิบัติไปใช้ในการเรียนและการดำเนินชีวิตผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนนักเรียนมีทักษะกระบวนการและความชำนาญในการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏว่าทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
8. การประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transportation Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ในภาพรวมผลการประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักเรียนสามารถต่อยอดองค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นได้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกันได้ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนนักเรียนสามารถขยายองค์ความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมผลการประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกันได้ และนักเรียนสามารถต่อยอดองค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นได้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนนักเรียนสามารถขยายองค์ความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏว่าทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปได้ว่า โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางวิชาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 8 ด้าน ควรดำเนินการต่อไปได้
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรสอบถามความคิดเห็นและความต้องการที่แท้จริงของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับการเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนดไว้ ควรกำหนดและแจ้งข้อตกลงในการเข้าเรียนให้ชัดเจน เช่น ความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน และการสนับสนุนให้นักเรียนเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอจากผู้ปกครอง
2. ควรสร้างความศรัทธาให้นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนให้เห็นจุดเด่นของโรงเรียนที่เหนือกว่าหรือเป็นความสำเร็จในความก้าวหน้าในการศึกษาต่อผู้ปกครองนักเรียน และควรปรับกิจกรรมการเรียนให้เป็นโครงการพิเศษที่แตกต่างจากการเรียนการสอนในเวลาให้ชัดเจน
3. ควรมีการประชาสัมพันธ์ความสำเร็จ ความก้าวหน้าของนักเรียนทุกภาคเรียนหรือเมื่อจบการศึกษา สรุปผลการดำเนินงานในแต่ละปีการศึกษา รวมทั้งเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
4. ควรส่งเสริมให้นักเรียนมีโอกาสเข้ารับการเสริมความรู้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ควรส่งเสริมให้นักเรียนเข้าค่ายวิชาการต่าง ๆ ควรส่งนักเรียนสอบแข่งขันทางวิชาการที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดเพื่อเพิ่มทักษะทางวิชาการแก่ผู้เรียน
5. ควรเพิ่มกิจกรรมแนะแนวศึกษาต่อให้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเน้นให้นักเรียนค้นหาตัวเองว่ามีความถนัดหรือมีความสามารถด้านใด เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกคณะสาขาที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
6. ควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสเข้าอบรมหรือศึกษาต่อในสาขาที่ตนเองสอนเพื่อให้ครูเกิดความเชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ
7. ควรสร้างเครือข่ายทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรประเมินโครงการลักษณะนี้ในทุก ๆ 3-5 ปี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สอดคล้องตามความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สภาพของสังคมและภาวะเศรษฐกิจ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
2. ควรประเมินโครงการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนด้วย เพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพทางวิชาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) อย่างแท้จริง
3. ควรมีการประเมินโครงการเชิงสาเหตุเพื่อให้ทราบว่าสาเหตุหรือปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จหรือผลของโครงการ ซึ่งจะทำให้เห็นแนวทางในการนำมาปรับปรุงพัฒนาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
 
ประวัติผู้ประเมิน
ชื่อ - สกุล นางสนธยา ส่งศรี
วัน เดือน ปีเกิด 20 พฤษภาคม 2518
สถานที่อยู่ปัจจุบัน 47/28 ถนนนางงาม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2537 มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสวนศรีวิทยา
พ.ศ. 2541 การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ) วิชาเอกวิทยาศาสตร์ - ฟิสิกส์
มหาวิทยาลัยทักษิณ
พ.ศ. 2551 ศึกษาศาสตร์บัณฑิต (ศษ.บ) วิชาเอกการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. 2553 ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม) วิชาเอกการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ตำแหน่งหน้าที่
พ.ศ. 2543 อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดด่านประชากร เทศบาลเมืองหลังสวน จังหวัดชุมพร
พ.ศ. 2554 รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
พ.ศ. 2557 รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
ปัจจุบัน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
เบอร์โทรศัพท์ 09-8671-3715