ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองปลามัน
หนองไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.
ผู้ประเมินโครงการ นายวิโรจน์ โทราช
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองปลามันหนองไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองปลามันหนองไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ตามรูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ตามแนวคิดของ Stuffelbeam ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านสภาพบริบท (Context Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ ความต้องการต่อการดำเนินงานตามโครงการและความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับ วัสดุ งบประมาณ บุคลากรและปัจจัยสนับสนุนอื่นในการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เ ป็นการประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนของแผนงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับผลผลิตที่เกิดขึ้นกับนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความสำเร็จของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครู โรงเรียนบ้านหนองปลามันหนองไร่ จำนวน 4 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองปลามันหนองไร่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 26 จำนวน 39 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหนองปลามันหนองไร่ จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองปลามันหนองไร่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 16 จำนวน 35 คน
ผลการศึกษาพบว่า
การประเมินการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองปลามันหนองไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ตามรูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ตามแนวคิดของ Stuffelbeam ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และ และนักเรียน ในภาพรวมทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.68 ; S.D. = 0.23) โดยแยกเป็นรายด้าน ได้ดังนี้
1. ด้านสภาพบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.62 ; S.D. = 0.22)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับบุคลากร ทรัพยากร และปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ของการดำเนินโครงการ พบว่า พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.64 ; S.D. = 0.27)
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.71 ; S.D. = 0.23)
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.75 ; S.D. = 0.21)