ชื่อผู้ศึกษา ปาณิสรา บุญชูคุ้มเกล้า
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่กิ๊ อำเภอขุนยวม จังหวัดเเม่ฮ่องสอน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเเม่ฮ่องสอน เขต 1
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของ แบบทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้แบบทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านแม่กิ๊ อำเภอขุนยวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวนนักเรียน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1)
แบบทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะ จำนวน 20 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบปรนัย จำนวน 10 ข้อ แบบอัตนัยการอ่านออกเสียง 10 ข้อ และการเขียนตามคำบอก 10 ข้อ รวม 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อแบบทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สถิติที่ใช้ คือการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1.ประสิทธิภาพของแบบทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.43/82.20สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนร้อยละ 24.43
3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ( = 0.63)