การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินองค์ประกอบด้านต่างๆ ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมนักเรียนภายหลังเข้าร่วมโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้กรอบการประเมินเชิงระบบของ CIPPIEST Model (มาเรียม นิลพันธุ์, 2553 : 31-32) กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 200 คน
ผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 2,946 คน และนักเรียนโรงเรียนประทาย จำนวน 2,946 คน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 รวมทั้งหมด 6,092 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองของนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนประทาย ซึ่งได้จากกลุ่มแบ่งชั้น (Stratified random sampling ) โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ
ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973: 125) ระดับความเชื่อมั่น 95% สัดส่วนความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูล ได้แก่
ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
จากการประเมิน สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอย พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า ภาพรวมของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57) โดยจำแนกได้ดังนี้
1.1 การประเมินบริบทของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.63)
1.2 การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.58)
1.3 การประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีประสิทธิภาพของกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.65)
1.4 การประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีผลลัพธ์อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.51)
1.5 การประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีผลกระทบในเชิงบวกอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54)
1.6 การประเมินประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.51)
1.7 การประเมินความยั่งยืนของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีความยั่งยืนในการปฏิบัติของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.52)
1.8 การประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทาย ตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
มีการถ่ายโยงความรู้ได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.57)
2. ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า ภายหลังการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.57)
3. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประทายตามรอยพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองของนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนประทาย มีความพึงพอใจที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.64)