ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เรื่อง การอ่านและการเขียน
สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๑
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๑ โสกคูณ
ผู้รายงาน นางสาวสุภาวดี ศรีหริ่ง
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เรื่อง การอ่านและการเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เรื่อง การอ่านและการเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ร้อยละ 80 ๒) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เรื่อง การอ่านและการเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ก่อนเรียนและหลังเรียน ๓) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC ก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือ CIRC เรื่อง การอ่านและ การเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล ๑ โสกคูณ สังกัดเทศบาลตำบลห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 25๖๐ จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียน 56 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล ๑ โสกคูณ สังกัดเทศบาลตำบลห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 25๖๐ จำนวน ๒๑ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเครื่องมือที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ๔ ชนิด ประกอบด้วย ๑) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เรื่อง การอ่านและการเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๐ แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ๓) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป จำนวน ๙ เรื่อง เรื่องละ ๑๕ ข้อ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือ CIRC เรื่อง การอ่านและการเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) ค่าดัชนีความสอดคล้อง ( IOC ) ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบและการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏ ดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เรื่อง การอ่านและการเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 96.04/90.47
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เรื่อง การอ่านและการเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .๐๕
๓. ความสามารถในการอ่านและการเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .๐๕
๔. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่เรียนแบบร่วมมือCIRC เรื่อง การอ่านและ การเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ความพึงพอใจระดับ มาก ที่ค่าเฉลี่ย ๒.๕๒