รายงานการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยประเมินจากแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้นและประเมินจากแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ครูปีการศึกษา 2559 จำนวน 6 คน นักเรียนปีการศึกษา 2559 จำนวน 37 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2559จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนปีการศึกษา 2559 จำนวน 37 คน และคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 5 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 9 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.94 0.99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่าทั้งสองกลุ่มที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.49, S.D. = 0.72) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการนิเทศภายในมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.63, σ = 0.61) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยได้คะแนน รวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็น ของคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.50, σ = 0.66) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าค่าเฉลี่ย (μ = 4.67, σ = 0.62) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการโครงการและด้านผู้สนับสนุนโครงการ มีค่าค่าเฉลี่ย (μ = 4.60, σ = 0.63 และ 0.74 ตามลำดับ) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านความเพียงพอ ของงบประมาณ (μ = 4.33, σ = 0.82) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.49, σ = 0.70) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.53, σ = 0.72) อยู่ในระดับ มาก เช่นกัน โดยได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.37, σ = 0.79) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด แต่ละด้าน พบว่า ด้านการให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.45, σ = 0.76) อยู่ในระดับ มาก รองลงมาคือ ด้านการวางแผนการนิเทศมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.40, σ = 0.75) อยู่ในระดับ มาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการประเมินการนิเทศภายใน (μ = 4.25, σ = 0.91) อยู่ในระดับ มาก เช่นกัน โดยได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.56, S.D. = 0.66) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการนิเทศภายในมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.51, σ = 0.70) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน โดยได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองและครู พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.63, S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครองมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.60 S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน โดยได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2558 2559 พบว่า โดยภาพรวม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาปีการศึกษา 2558 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.07 และ ปีการศึกษา 2558 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.75 คะแนนเฉลี่ย ≥ร้อยละ 70 ทั้งสอง ปีการศึกษา ผ่านเกณฑ์การประเมินและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) 3 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การศึกษา 2558 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.95 และ ปีการศึกษา 2559 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.03 ค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น +25.08 และและ (O-NET) 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 40.99 และปีการศึกษา 2558 มีค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 40.77 ค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง -0.22 แสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดย เพิ่มขึ้นจาก ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ระดับชั้น ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.63, σ = 0.68) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนน รวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.64, σ = 0.67) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.60, σ = 0.70) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.55, σ = 0.70) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
 
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการนิเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ควรจัดให้มีโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ปีการศึกษา 2559 เป็นโครงการต่อเนื่องและต้องดำเนินการทุกปี โดยใช้วงจรควบคุมคุณภาพของ เดมมิ่ง (P-D-C-A) มาเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพ
ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ในลักษณะอื่น ๆ