การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาวิชาท้องถิ่นเมืองสีคิ้ว โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมจิตสำนึก
รักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาวิชาท้องถิ่นเมืองสีคิ้ว โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรสถานศึกษาวิชาท้องถิ่นเมืองสีคิ้ว โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4) เพื่อประเมินและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาวิชาท้องถิ่นเมืองสีคิ้ว โดยใช้แนวคิด
การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 4 ขั้นตอน
ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3
การทดลองใช้หลักสูตร และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย
ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว
จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่เลือกเรียนในรายวิชาท้องถิ่นเมืองสีคิ้ว จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรสถานศึกษาวิชาท้องถิ่น
เมืองสีคิ้ว โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4) แบบประเมินจิตสำนึกรักท้องถิ่น 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อหลักสูตร
6. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้หลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
(Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้มีการพัฒนาหลักสูตร วิชาท้องถิ่นเมืองสีคิ้ว เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับอำเภอสีคิ้ว คาดหวังให้นักเรียนได้ศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้/ แหล่งท่องเที่ยวและมีจิตสำนึกรักท้องถิ่นของตนเอง
2. หลักสูตรสถานศึกษาวิชาท้องถิ่นเมืองสีคิ้ว โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน
เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบ คือ
1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้าง/เนื้อหารายวิชา 4) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน 5) การวัดและประเมินผล หลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้อง โดยมีค่าดัชนี
ความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 1.00 และมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกรักท้องถิ่น 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นจิตสำนึก 2) ขั้นสร้างความรู้ความเข้าใจ 3) ขั้นค้นหาทักษะ 4) ขั้นวิเคราะห์ตัดสินใจ 5) ขั้นลงมือปฏิบัติ 6) ขั้นประเมินผล
3. ผลการใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีระดับความรู้สึกด้านจิตสำนึกรักท้องถิ่นสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตร
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด