ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนบ้านนาทุ่งโพธิ์
ผู้วิจัย นางสุราณี เหล็มปาน
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแต่งกลอนสี่ ชุด กงหรา บ้านฉัน โดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้าน นาทุ่งโพธิ์ จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 34 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น และครูผู้สอนวิชาภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน โดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 แผน (18 ชั่วโมง) แบบทดสอบหลังเรียน จากแบบฝึกทักษะ การแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 6 เล่ม เล่มละ 10 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน เป็นแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน จำนวน 1 ฉบับ และแบบอัตนัย จำนวน 1 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน รวม 30 คะแนน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 81.94/83.89 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน
มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน (X- ) = 14.61 (S.D.) = 4.86 มีค่าเฉลี่ยหลังเรียน (X- ) = 25.11 (S.D.) =
3.51 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด (X- = 4.63 ,
S.D. = 0.49) เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
กิตติกรรมประกาศ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ ชุด กงหราบ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาทุ่งโพธิ์ สำเร็จลงด้วยคำแนะนำ และความกรุณาเป็นอย่างสูงจาก นายสุวรรณ ขวัญแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ที่ให้โอกาสและคำแนะนำด้วยดีมาโดยตลอด และความเอาใจใส่จากคณะผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน นางศุภาพิชญ์ สมุหะเสนีโต ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดหัวหมอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 นางฤดี เบญจมาตย์ ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านควนโคกยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 และนางทักษิณา เทพประสิทธิ์ ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ไทยรัฐวิทยา 23 (วัดโคกโหนด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาพัทลุง เขต 2 ที่กรุณาให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ แก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ จนทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบคุณ นายยุซุบ ไหมหมาด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาทุ่งโพธิ์ คณะครูทุกท่าน นักเรียนทุกคน ที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษาตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้วยดี จนทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีของรายงานการใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสี่ ชุด กงหรา บ้านฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาทุ่งโพธิ์ ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอน้อมบูชาแด่คุณบิดามารดา บูรพาจารย์ ตลอดจนผู้มีพระคุณทุกท่านที่มีส่วนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ผู้วิจัยตั้งแต่ต้นจนปัจจุบัน
สุราณี เหล็มปาน
ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านนาทุ่งโพธิ์