การศึกษาเรื่อง การดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ โรงเรียนบ้านแม่กองคา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพ
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)ด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานและจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโรงเรียนบ้านแม่กองคา ปีการศึกษา 2559 จำนวนประชากร 118 คน ประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สภาพการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ โดยการสังเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของการวิจัยและนำเสนอผลการศึกษา ในรูปแบบการบรรยาย จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อ ผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวน 1 ฉบับ และแบบตรวจสอบข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผล
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ จำนวน 1 ฉบับ
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. สภาพการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ โรงเรียนบ้านแม่กองคา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากการวิเคราะห์สถานภาพโรงเรียนและผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา (สมศ.) รอบ 3 (พ.ศ.2554-2558) เมื่อวันที่ 19-21 มีนาคม พ.ศ.2557 พบว่า การจัดการศึกษาของโรงเรียนยังไม่ไปตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษากำหนด มีระดับคุณภาพต้องปรับปรุงเร่งด่วนและไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา และ ในปีการศึกษา 2559 จึงได้ทำการศึกษาผลดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามปัจจัยสู่ความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโดยใช้ยุทธศาสตร์ 4 5 6 ด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า มีองค์ประกอบย่อย คือ ด้านการระดมทรัพยากร ด้านเครือข่ายพัฒนาคุณภาพ ด้านเครือข่ายด้านเทคนิค ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการนิเทศ ติดตามและการประเมินผล ด้านการสนับสนุนจากองค์กรอื่น ด้านการมีส่วนร่วมใน
การจัดการศึกษา สำหรับกระบวนการ ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการหลักสูตร และด้านการจัดการเรียนการสอน และผลลัพธ์ คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ โรงเรียนบ้านแม่กองคา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นภาพรวม พบว่า
มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ กระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมาก คือ ผลลัพธ์ (Output) และปัจจัยนำเข้า (Input) ตามลำดับ และจากผลการตรวจสอบข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ปีการศึกษา 2558 2559 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2558 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษตามลำดับ และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2558 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และสังคมศึกษาตามลำดับ และมีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ
3. ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ด้วยกระบวนการบริหารเชิงระบบ โรงเรียน
บ้านแม่กองคา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Input) ควรได้รับการสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการรับสัญญาณจากสำนักงานเขตพื้นที่ให้อย่างเหมาะสม มีการสร้างเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยจัดให้มีการประชุม อบรมให้ความรู้ และติดตามการดำเนินงาน รวมทั้งเครือข่ายด้านเทคนิคในการดูแล ให้คำปรึกษา ตลอดจนติดตั้ง ซ่อมแซมอุปกรณ์รับสัญญาณต่างๆได้ ประสานหน่วยงานหรือองค์กรภายนอกเข้ามามีบทบาทหรือสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ มีการนิเทศ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง มีการระดมทรัพยากรสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือต้นสังกัดและองค์กรต่าง ๆ ทุกภาคส่วน
2. กระบวนการ (Process) ควรได้รับการสนับสนุนด้านปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ ไฟฟ้า และระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ จัดสรรระบบไฟฟ้าพลังงานสำรอง ในกรณีที่ใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลักไม่ได้หรือไม่เพียงพอ ควรปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับโรงเรียนต้นทางและบริบทของโรงเรียน มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ จัดหางบประมาณจัดซื้อสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น ส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้เตรียมความพร้อมก่อนการจัดการเรียนการสอนตามคู่มือครูพระราชทานกำหนด ส่งเสริมการจัดห้องเรียนและบรรยากาศภายในโรงเรียนให้เหมาะสมเอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน
3. ผลลัพธ์ (Output) ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และความรับผิดชอบตนเองและชั้นเรียน ให้ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาได้มีบทบาทหรือส่วนร่วมในการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆให้มากขึ้น และช่วยเหลือสนับสนุนในการพัฒนาคุณภาพ
การจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ