หัวข้อวิจัย การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะ
ที่เหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น
ชื่อผู้วิจัย นางธันยาภรณ์ เพชรโยธา
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนา (Research & Development) การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่การวิจัยระยะที่ 1 ความต้องการจำเป็นและวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะจิตสาธารณะที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยในบริบทท้องถิ่น
กลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัย จำนวน 306 คน ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จากโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของคุณลักษณะจิตสาธารณะที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยประกอบด้วย 4 ด้าน 15 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านที่ 1
มีความสุขสงบในตนเอง มี 5 ตัวบ่งชี้ ด้านที่ 2 เคารพความแตกต่างหลากหลาย มี 4 ตัวบ่งชี้ ด้านที่ 3 ช่วยเหลือผู้อื่นดัวยความเต็มใจ มี 3 ตัวบ่งชี้ และด้านที่ 4 เข้าร่วมกิจรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม มี 3 ตัวบ่งชี้ และทุกตัวบ่งชี้ที่มีค่าสหสัมพันธ์ในระดับดีมาก การวิจัยระยะที่ 2 สร้างหลักสูตรการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ในบริบทท้องถิ่น และการวิจัยระยะที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปใช้ โดยทดลองกับเด็กปฐมวัยระดับชั้นปีที่ 2 (อายุ 5 ปี) และปีที่ 3 (อายุ 6 ปี) จำนวน 2 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 60 คน
ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 1(ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส ใช้แบบแผนการทดลองกึ่งทดลองเป็นเวลา 9 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า
เด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีคุณลักษณะจิตสาธารณะทั้ง 4 ด้านเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปใช้เพื่อสนับสนุนการประกันคุณภาพทางการศึกษาปฐมวัยของไทยที่เหมาะสม