ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ SRITHANAM Model
ของโรงเรียนบ้านศรีท่าน้ำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓
๑) ความเป็นมา/แนวคิด
โรงเรียนบ้านศรีท่าน้ำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีภารกิจที่สำคัญ คือการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ตามเป้าหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ และตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านศรีท่าน้ำ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งโรงเรียนขนาดเล็กดังกล่าว ส่วนใหญ่ไม่สามารถบริหารจัดการศึกษาได้ตามเป้าหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนมาตรฐานด้านผู้บริหารโรงเรียน มาตรฐาน ด้านครูและมาตรฐานด้านนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก จากการศึกษาสภาพการบริหารจัดการ และผลที่เกิดขึ้น การบริหารจัดการของโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่ามีปัญหาที่สำคัญ ดังนี้ ๑. การบริหารงานวิชาการ ครูไม่ครบชั้น และจำนวนผู้เรียนในแต่ละชั้นมีจำนวนน้อย ทำให้ครูไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลายได้ สังคมผู้เรียนคับแคบ การเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนไม่กว้างพอ ผู้เรียนจึงมีความจำกัดในการพัฒนาการเรียนรู้ที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และผลคะแนนการสอบระดับชาติควรได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้น ซึ่งมีการจัดชั้นเรียนของสถานศึกษาต้องจัดชั้นเรียนให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ ตามระดับชั้นให้สอดคล้องกับหลักสูตร ๒. การบริหารงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กมีค่อนข้างจำกัด ได้รับงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนไม่เพียงพอ ทั้งนี้เพราะกระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบประมาณให้ตามรายหัวของจำนวนผู้เรียน โรงเรียนมีจำนวนผู้เรียนน้อยทำให้ได้รับงบประมาณน้อยตามไปด้วยจึงไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาและดูแลผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้ขาดแคลนทั้งอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องสมุด ตลอดจนสนาม สำหรับการเล่นกีฬาของนักเรียน อีกทั้งยังต้องใช้จ่ายเงินจำนวนนี้เพื่อการสาธารณูปโภค และค่าดำเนินการอื่นๆ อีกหลายประการ ๓. การบริหารงานบุคคล ขวัญและกำลังใจของครูตกต่ำ เพราะความขาดแคลนบุคลากรที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จัดการเรียนการสอน โดยมีครูไม่ครบชั้นเรียน ไม่ครบกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูหนึ่งคนต้องรับผิดชอบดูแลผู้เรียนหลายชั้น หรือรับผิดชอบชั้นเดียวแต่ต้องสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อีกทั้งโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ ก็มีจำกัดไม่เหมือนครูที่สอนในสถานศึกษาขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ที่มีโอกาสได้รับกาพัฒนาตน พัฒนางาน และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ดังนั้น ถ้าขาดครูขวัญและกำลังใจในการทำงาน จะมีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานทั้งของตนเอง สถาบันการศึกษาและประเทศชาติ ๔. การบริหารงานทั่วไป การได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากท้องถิ่นชุมชนมีค่อนข้างน้อย ผู้ปกครองขาดความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา เพราะโรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในชุมชนที่ห่างไกลและมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ มีข้อจำกัดมากมาย เช่น ครูไม่ครบชั้น ขาดสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ฯลฯ ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานมาเข้าเรียน
โรงเรียนบ้านศรีท่าน้ำ มีบทบาทความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษา ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว เร่งที่จะหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาทางด้านการจัดการศึกษา จึงได้กำหนดเป้าหมาย นโยบาย แนวทางการดำเนินมาตรการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตลอดจน หารูปแบบในการดำเนินการ ที่จะทำให้เกิดผลการปฏิบัติงานสำหรับการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างจริงจัง โรงเรียนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการพัฒนาทางการศึกษา จึงมีความใส่ใจต่อการแก้ปัญหาได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน ตลอดจนบุคลากรจากหน่วยงานอื่นๆ นอกวงการศึกษา พยายามหาแนวทาง รูปแบบ เทคนิค วิธีการ หรือกระบวนการต่างๆเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาโรงเรียน ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้บรรลุ ตามเป้าหมายของการจัดให้บริการทางการศึกษา ผลจากการเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ร่วมกัน คิดร่วมกันทดลองดำเนินการจนกระทั่งเกิดผลต่อคุณภาพของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทำให้สามารถคัดเลือก และสรุปแนวทาง รูปแบบและกระบวนการได้ว่าการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก แบบมีส่วนร่วมโดยใช้
SRITHANAM Model เป็นแนวทางที่สามารถจัดรูปแบบสำหรับการดำเนินการได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด หากเปิดโอกาสได้ร่วมมือกันสะท้อนปัญหาอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อโรงเรียนของตนเอง ออกมาร่วมกันวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และข้อจำกัดที่ยึดข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน ร่วมกันสังเคราะห์และสรุปเพื่อหาแนวทางดำเนินการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียน โดยการสร้างเครือข่ายการทำงานด้วยกันจะทำให้ได้แนวทางที่มีความเหมาะสมกับสภาพลบริบทของโรงเรียนและตรงตามความสนใจความต้องการของครูที่จะระดมศักยภาพของบุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาพัฒนาโรงเรียนพัฒนานักเรียนร่วมกัน ดังนั้นการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ SRITHANAM Model มีความน่าสนใจ และคาดว่าเมื่อดำเนินการแล้วจะส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนที่จะสูงขึ้น พัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างแน่นอน
๒) วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อสร้างและตรวจสอบแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วม
โดยใช้ SRITHANAM Model
๒.๒ เพื่อศึกษาผลการดำเนินการงานตามแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
แบบมีส่วนร่วม SRITHANAM Model
๒.๒.๑ ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานตามแนวการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
แบบมีส่วนร่วมโดยใช้ SRITHANAM Model
๒.๒.๒ ความสำเร็จที่ได้จากการดำเนินงานตามแนวการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
แบบมีส่วนร่วมโดยใช้ SRITHANAM Model
๓) วิธีดำเนินการ
หลักและทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบแนวคิดในการสร้าง Model
๑. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School based Management : SMB)
๒. ทฤษฎีระบบ (System theory)
๓. แนวคิดของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management : RBM)
๔. วงจรคุณภาพ (PDCA)
๕. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
๖. การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ SRITHANAM Model
๖.๑ ปัจจัย (Input)
๖.๑.๑ S = Sufficiency Economy Vision
วิสัยทัศน์สู่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๖.๑.๒ R = Result Based Management : (RBM)
การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
๖.๑.๓ I = Idea Plan
การวางแผนการ/โครงการปฏิบัติงาน
๖.๒ กระบวนการ (Process)
๖.๒.๑ T = Team Work
ทีมงานที่ดี
๖.๒.๒ H = Hierarchy
การจัดระบบลำดับชั้นการปฏิบัติงาน
๖.๒.๓ A = Assign Coaching
กำหนดการนิเทศติดตาม
๖.๓ ผลผลิต (Output)
๖.๓.๑ N = Network
เครือข่าย
๖.๓.๒ A = Achievement
ความสำเร็จ
๖.๓.๓ M = SRITHANAM Model Innovation
นวัตกรรมศรีท่าน้ำโมเดล
๔) ผลที่ได้รับ
๔.1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผุ้เรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐาน การเรียนรู้ที่กำหนดให้ผุ้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการดังนี้ 1. ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับส่งสารมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ 2. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด สามารถในการคิดวิเคราะห์การคิดสังเคราะห์คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ 3. ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา แก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆได้ 4. ผู้เรียน มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นการนำกระบวนการต่างๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมจัดการปัญหาความขัดแย้งปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ 5. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สามารถใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ๘ ประการ ดังนี้ 1. ผู้เรียนมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย ศรัทธา ยึดมั่นในศาสนา และเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ 2. ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต ประพฤติตรงตามความเป็นจริงทั้งทางกาย วาจา ใจ และยึดหลักความจริงความถูกต้องในการดำเนินชีวิต มีความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด 3. ผู้เรียนมีความมีวินัย ปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคมเป็นปกติวิสัย ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 4. ผู้เรียนมีความใฝ่เรียนรู้ มีลักษณะ ซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ 5. ผู้เรียนมีความอยู่อย่างพอเพียงแสดงออกถึงการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณมีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 6. ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานมีลักษณะซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเพียรเพียรพยายาม ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ 7. ผู้เรียนมีความรักความเป็นไทย มีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า ชื่นชม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมไทย มีความกตัญญูกตเวที ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารอย่างถูกต้องเหมาะสม 8. ผู้เรียนมีความมีจิตสาธารณะ เป็นผู้ให้และช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งปันความสุขส่วนตนเพื่อทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ทำให้ผู้เรียนได้รับรางวัล ดังนี้
ที่ ชื่อ - สกุล รางวัล
1. เด็กหญิงอัฟนาน คาเดร์ ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียนภาคใต้ ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 จ.สุราษฎร์ธานี
ได้รางวัลระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการประกวด
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้นป.4-6
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันท่องสูตรคูณ ระดับชั้น
ป.4-6 ปีการศึกษา 2560 โครงการแข่งขันทักษะด้านวิชาการคณิตศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสาร ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๒. เด็กหญิงฟิรดาว เจ๊ะหม๊ะ ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียนภาคใต้ ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 จ.สุราษฎร์ธานี
ได้รางวัลระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขัน
ทำน้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ที่ ชื่อ - สกุล รางวัล
๓. เด็กหญิงซูไรดา กาเดร์ ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียนภาคใต้ ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 จ.สุราษฎร์ธานี
ได้รางวัลระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการประกวด
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๔. เด็กหญิงนูนี กือจิ ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันทำน้ำพริก
ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียนภาคใต้ ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560
ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขันทำ
น้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๕. เด็กหญิงกัสมี บือราเฮง ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันทำน้ำพริก
ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียนภาคใต้ ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560
ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขันทำ
น้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันท่องสูตรคูณ ระดับชั้น
ป.4-6 ปีการศึกษา 2560 โครงการแข่งขันทักษะด้านวิชาการคณิตศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๖. เด็กหญิงนูรู กือจิ ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันทำน้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียนภาคใต้ ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560
ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันทำอาหารคาวหวาน เพื่อสุขภาพ ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันท่องสูตรคูณ ระดับชั้น
ป.4-6 ปีการศึกษา 2560 โครงการแข่งขันทักษะด้านวิชาการคณิตศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ที่ ชื่อ - สกุล รางวัล
๗. เด็กหญิงนาซีพะห์
มะลาเซ็ง ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน
ทำอาหารคาวหวาน เพื่อสุขภาพ ระดับชั้นป.4-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันท่องสูตรคูณ ระดับชั้น
ป.4-6 ปีการศึกษา 2560 โครงการแข่งขันทักษะด้านวิชาการคณิตศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๘. เด็กชายพารอน เวรุวาปี
ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง กิจกรรมการแข่งขันการวาดภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ระดับชั้น ป.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๙. เด็กหญิงซิลมี อาแด ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง กิจกรรมการแข่งขันการวาดภาพ
ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ระดับชั้น ป.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง กิจกรรมการแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสาร ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๔.๒ ผลที่เกิดกับครู
๑. ครูมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ เกิดการพัฒนาทักษะในด้านการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้ได้รับรางวัลต่าง ๆ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิดวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล ตามสภาพจริง จนได้รับรางวัล ดังนี้
ที่ ชื่อ - สกุล รางวัล
๑. นางสาวอาอีฉ๊ะ หลีหาด นางสาวอาอีฉ๊ะ หลีหาด ได้รับรางวัลครูผู้ฝึกสอนให้นักเรียนได้รับรางวัล เหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันท่องสูตรคูณ กิจกรรมการแข่งขันท่องสูตรคูณ ระดับชั้น ป.4-6 โครงการการแข่งขันทักษะด้านวิชาการคณิตศาสตร์ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๒. นางสาวจิราวรรณ มโนวรณ์
ได้รับรางวัลครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันทำน้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 จ.สุราษฎร์ธานี วันที่ 19-21 ธันวาคม ปี 2560 ได้รับรางวัลครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันทำน้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560
ที่ ชื่อ - สกุล รางวัล
๓. นายโยฮัน ปะดอ
ได้รับรางวัลครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 จ.สุราษฎร์ธานี วันที่ 19-21 ธันวาคม ปี 2560 ได้รับรางวัลครูผู้สอนนักเรียน
ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560
ได้รับรางวัลครูผุ้สอนนักเรียนได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับเหรียญทองแดงการแข่งขันพูดภาษาอังกฤษ (Impromptu Speech) ระดับ ชั้น ป.1-3 และระดับชั้นป.4-6 กิจกรรมแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ระดับเขตพื้นที่การศึกษา โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสู่ศตวรรษที่ 21
ได้รับรางวัลการประกวดคัดเลือกนวัตกรรมที่เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ประเภทผลงานครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับคุณภาพดีมาก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๔. นายอัซมี กือซา
ได้รับรางวัลครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรม การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา ปี 2560 จ.สุราษฎร์ธานี วันที่ 19-21 ธันวาคม ปี 2560
ได้รับรางวัลครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ระดับชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560
๕. นางสาวปุณิกา
ฤทธิ์มหา ได้รับรางวัลครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรม การแข่งขันทำน้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560 จ.สุราษฎร์ธานี วันที่ 19-21 ธันวาคม ปี 2560
ได้รับรางวัลครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันทำน้ำพริก ผักสด เครื่องเคียง ระดับชั้น ป.4-6 งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 67 ปีการศึกษา 2560
2. ครูมีการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน ประสานความ
ร่วมมือกับผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอน โดยให้ผู้ปกครองที่มีความสามารถที่จำเป็นเฉพาะทาง ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมจัดการเรียนการสอน
๓. ครูเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าครู
จะไม่ได้สอนตรงตามวิชาเอกแต่ครูทุกคนก็ได้พัฒนาตนเองด้วยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาต่อ การเข้าร่วมอบรมสัมมนา ศึกษาดูงานและการศึกษาด้วยตนเอง มีการนิเทศกันเองจนทำให้ครูมีความถนัดในวิชาที่สอน
4. ครูมีความมุ่งมั่นเสียสละอุทิศตนในการพัฒนาผู้เรียน มีการแสดงหาความรู้เทคนิควิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม และนำผลการประเมินผู้เรียนมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนการสอนและพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพต่อไป
๔.๓ ผลที่เกิดกับ ผู้ปกครอง และชุมชน
ผู้ปกครอง และชุมชน มีความเชื่อมั่นในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน สามารถใช้บริการต่าง ๆ ของโรงเรียน มีเจตคติที่ดี รัก ศรัทธา และเกิดความหวงแหนต่อโรงเรียน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการสถานศึกษาในการระดมทีมงานจากชุมชนในเขตพื้นที่บริการโรงเรียน ช่วยกันปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ จนทำให้โรงเรียนมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม น่าเรียน โรงเรียนมีโครงสร้างการบริหารงาน และการกระจายหน้าที่การทำงานอย่างทั่วถึงจนสามารถทำงานอย่างเป็นระบบ ได้รับความไว้วางใจ จากผู้ปกครองและชุมชนบ้านศรีท่าน้ำในการจัดการศึกษา และได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ในการจัดการศึกษา เช่น ที่ว่าการอำเภอธารโต องค์การบริหารส่วนตำบลธารโต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านศรีท่าน้ำ สถานีตำรวจภูธรธารโต และหน่วยมว.ฉก.ตชด.ที่ ๔๔๑๒ เป็นต้น
๔.๔ ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
๑. โรงเรียนได้รับรางวัลรางวัลชนะเลิศ กิจกรรม ครอบครัวคุณธรรม สัจจะ สันติสุขโรงเรียนชุมชนคุณธรรม" ประจำปี 2560 ระหว่างเดือน กรกฎาคม - กันยายน 2560 จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
๒. นางมารีน่า สะนี ผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับรางวัลการประกวดนวัตกรรม การบริหารจัดการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ ระดับดีเยี่ยม ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยใช้กระบวนการ "ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ"(Professional Learning Community : PLC) ระหว่างวันที่ ๓๐ กันยายน 2560 - 2 ตุลาคม 2560 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓
ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองและชุมชน มีความสุข มีความภาคภูมิใจ และพึงพอใจ
กับการมีส่วนร่วมใน การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ SRITHANAM Model ของโรงเรียน บ้านศรีท่าน้ำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมาถึงปัจจุบัน
๕) ข้อเสนอแนะ
การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ SRITHANAM Model เพื่อใช้พัฒนาการจัดการโรงเรียน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงควรมีการนำรูปแบบนี้ไปใช้กับการจัดการในโรงเรียนอื่นที่มีบริบทต่างกัน