ชื่อเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล
ผู้วิจัย นายทรงศักดิ์ มิทราวงศ์
ปีที่ทำกำรวิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล 3) เพื่อศึกษาผลการดาเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล ด้านคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในผลการดาเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครู และตัวแทนชุมชน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจาเป็น จากแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ คณะกรรมการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครู และตัวแทนชุมชน ต่อจากนั้นจัดทากลยุทธ์ โดยใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การดาเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนนา ผลการวิเคราะห์มาจัดทาราย กลยุทธ์และตรวจสอบกลยุทธ์โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ
ผลการวิจัย พบว่าสภาพปัจจุบันของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุดลาดับแรก คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการริเริ่ม รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดาเนินการ และค่าเฉลี่ยต่าสุด คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการประเมินผล ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ลาดับแรก คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการริเริ่ม รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดาเนินการ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการรับผลประโยชน์ และค่าเฉลี่ยต่าสุด คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการประเมินผล
กลยุทธ์ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก 16 กลยุทธ์รอง และ 68 วิธีการ ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ 1 ริเริ่มสร้างสรรค์สัมพันธ์ชุมชน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง กลยุทธ์หลักที่ 2 เพิ่มพลังศักยภาพการวางแผน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์รอง กลยุทธ์หลักที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินงานสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์รอง กลยุทธ์หลักที่ 4 มุ่งสร้างคุณภาพการประเมินผลสู่ความเข้มแข็ง ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์รอง และกลยุทธ์หลักที่ 5 มุ่งสู่ความสาเร็จและรับผลประโยชน์ร่วมกัน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รองผลสาเร็จของการดาเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล ปรากฏผลดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงสุดทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และทุกระดับชั้น นักเรียนมีความรู้ความสามารถทางวิชาการได้รับรางวัลการ
แข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆ นักเรียนมีความประพฤติดี กริยามารยาทเรียบร้อย นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ชอบออกกาลังกาย นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือจากชุมชน ผู้มีอุปการคุณ และหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ทุนการศึกษา ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และนักเรียนต่อผลการดาเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด