ชื่อเรื่อง การใช้ชุดแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ จำนวนที่มีผลลัพธ์
และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเก่าร้าง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา
ผู้วิจัย นางประทุมทิพย์ กัณฐตุริต
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา มุ่งเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะด้านคณิตศาสตร์ มีทักษะในการคิดคำนวณ สามารถแก้ปัญหาได้และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ผู้สอนจึงควรพิจารณาว่าเนื้อหาใดควรใช้วิธีสอนแบบใดจึงจะเหมาะสม นักเรียนเข้าใจง่าย และเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นๆ ได้ดี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านเก่าร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้ชุดแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้ง ไม่เกิน 1,000 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านเก่าร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านเก่าร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านเก่าร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา และได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากนักเรียนมี ห้องเรียนเดียว ใช้เป็นกลุ่มทดลอง มีนักเรียนจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ ชุดแบบฝึกเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด เวลาที่ใช้ในการทดลอง 16 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t - test (Independent Samples) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) ชุดแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเก่าร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเก่าร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเก่าร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t - test (Independent Samples)
ผลการวิจัย
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเก่าร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด คือ 80/80 ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนนี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.44/86.25
2. ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะคณิตศาสตร์ภายหลังการใช้ชุดแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเก่าร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังใช้ชุดแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนบ้านเก่าร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับมาก คิดเป็นคะแนนร้อยละ 82.22