ชื่อวิจัย รายงานผลการศึกษาและการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)
ผู้วิจัย นางชยุดา ไนยะกูล
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้
กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว มีการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 13 ชุด 2) คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ คือ พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจมาก
พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจน้อย และพึงพอใจน้อยที่สุด
การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการคำนวณหาประสิทธิภาพ (E1/E2) หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที t - test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.38/84.72
ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)
ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)
ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง รอบรู้ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.59)