บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL (KNOW WANT DO LEARN) เรื่อง ไฟฟ้าเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL (KNOW WANTDOLEARN) เรื่อง ไฟฟ้าเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL (KNOW WANT DO LEARN) เรื่อง ไฟฟ้าเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โดยมีกลุ่มตัวอย่างเพื่อการทดลองใช้นวัตกรรม คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียน
ที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 36 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เนื้อหาเรื่องไฟฟ้าเคมี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บทเรียนเทคนิค KWDL (KNOW WANT DO LEARN) เรื่อง ไฟฟ้าเคมี แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้าเคมี แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียน KWDL วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาบทเรียน KWDL เรื่องไฟฟ้าเคมี รายวิชาเคมี 4 ว 33224 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 87.63/89.22 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ จึงใช้เป็นสื่อในการสอนได้
2.ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียน KWDL เรื่องไฟฟ้าเคมี รายวิชาเคมี 4 ว 33224 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่าโดยภาพรวมเฉลี่ยคะแนนระหว่างเรียน คิดเป็นร้อยละ 87.63 และคะแนนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 89.22 นักเรียนสามารถทำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าระหว่างเรียน
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียน KWDL โดยภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.12 , S.D.= 0.42) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าปริมาณเนื้อหาในแต่ละบทเรียน และความชัดเจนของภาพประกอบ อยู่ในอันดับสูงสุด ระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59,S.D.= 0.77) อันดับรองได้แก่ ความเหมาะสมของวิธีการรายงานผลคะแนน และความเหมาะสมในการโต้ตอบบทเรียนอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.28, S.D.= 0.52) อันดับต่ำสุดได้แก่ ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา ความชัดเจนของคำสั่ง ความชัดเจนของแบบฝึกทักษะระหว่างเรียน ความเหมาะสมของสีตัวอักษร ความเหมาะสมของภาษา ความชัดเจนของอักษร อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.00 , S.D.= 0.37) ผลการประเมินด้านที่เหลือส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก