การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธนาคารขยะรีไซเคิลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธนาคารขยะรีไซเคิลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ปี การศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการจำนวน 190 คน ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ศึกษานิเทศก์ และผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 3 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีการของลิเคิร์ท ได้แก่ มากที่สุด (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) น้อยที่สุด (1) และแบบสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการ
1. 1 ระดับการดำเนินงานโครงการบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธนาคารขยะรีไซเคิลตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ปี การศึกษา 2559 โดยรวม พบว่า มีการดา เนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบท โดยรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.53) ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.50)
1.2 ระดับการดำเนินงานโครงการบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธนาคารขยะรีไซเคิลตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ปี การศึกษา 2559 ด้านกระบวนการ โดยรวม พบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.54)
1.3 ระดับการพัฒนาโครงการบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธนาคารขยะ รีไซเคิลตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ปีการศึกษา 2559 ด้านผลลัพธ์ โดยรวม พบว่า มีการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนานักเรียน มีการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.53)
ด้านการพัฒนาครูและสถานศึกษา มีการพัฒนาอยู่ในระดับมาก (x̄=4.50) และด้านการพัฒนาผู้ปกครองและชุมชน มีการพัฒนาอยู่ในระดับมาก (x̄=4.49)
2. ข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธนาคารขยะรีไซเคิลตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ศึกษานิเทศก์และผู้ปกครอง สรุปโดยรวม คือ ควรกำหนดรูปแบบการบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธนาคารขยะรีไซเคิลตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาและกำหนดให้เป็นกิจกรรมดีเด่น (Best Practice) ของสถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน โดยนา เทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการและเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบที่หลากหลาย รวมทั้งจัดนิทรรศการแสดงผลงาน กิจกรรม
ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลที่เป็นแบบอย่างของการปฏิบัติกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิลและการพัฒนา
สิ่งแวดล้อมดีเด่นด้านต่าง ๆ