1. ชื่อเรื่อง
ผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
ผู้วิจัย นางสาวกรรณิกา ปัญญะติ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครู ชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทิงวิทยาคม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
2. ที่มาและความสำคัญของปัญหา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 2559) ได้กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมาะสม โดยเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยง และเสริมสร้างรากฐานของประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภค ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งสู่ "สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง"
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนไว้ในข้อ 2 ผู้เรียนมีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต โดยเฉพาะสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนด้านความสามารถในการคิดเป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม กำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้ มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์เห็นคุณค่าของตนเองมีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารการคิดการแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีมีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย มีความรักชาติมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลกยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกัน ในสังคมอย่างมีความสุข
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างอย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาและนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เปิดโอกาสให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนดังนี้ จำนวนและการดำเนินการ การวัด เรขาคณิต พืชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
แต่ในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ค23202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ประสบปัญหานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและไม่สนใจการเรียน ซึ่งธรรมชาติของเนื้อหา วิชาคณิตศาสตร์เป็นการนำความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา มีโครงสร้างแสดงความเป็นเหตุเป็นผล มีการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ และมีลักษณะเป็นนามธรรม จึงยากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน อีกทั้งนักเรียนในห้องมีจำนวนมาก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจเรียน และนักเรียนยังขาดทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ ทั้งนี้สาเหตุปัญหาอาจเนื่องมาจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ เช่น ครูใช้วิธีสอนแบบบรรยายโดยใช้กระดานและชอล์กเพียงอย่างเดียว หรือครูขาดสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม ดังนั้นจึงได้ทำการแก้ไขโดยเลือกใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ สอดคล้องกับตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต่อไป
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม
2. เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
5. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ตัวแปรตาม ได้แก่
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 กับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70.00
- ความพึงพอใจของของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง
พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
6. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องเรียนที่ 3 จำนวน 39 คน
ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
7. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ค 23202 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง พาราโบลา รหัสวิชา ค23202 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ค 23202
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ
จำนวน 30 คะแนน
4. แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ
8. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้นำนวัตกรรมคือ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง พาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเครื่องมือในการเก็บเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องเรียนที่ 3 จำนวน 39 คน รวม 12 ชั่วโมง
9. การวิเคราะห์ข้อมูล
1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ค 23202 ได้ทำการตรวจกระดาษคำตอบของนักเรียนเป็นรายบุคคลในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยกำหนดเกณฑ์คือ ตอบถูกได้ 1 คะแนนตอบไม่ถูกต้องได้ 0 คะแนน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน( S.D.)
2. แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง
พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ได้ทำการตรวจแบบประเมินความพึงพอใจ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
10. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (เขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้)
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ย 24.03 คะแนน (S.D. = 4.14) จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละเฉลี่ยเท่ากับ 80.09
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง พาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ มีค่าร้อยละเฉลี่ยเท่ากับ 84.57 สูงกว่าเกณฑ์การผ่านที่โรงเรียนกำหนดไว้ ร้อยละ 70
3. นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดคือ การเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาสาระจากบทเรียนมากยิ่งขึ้น และการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ( = 5.00, S.D. = 0.00) และน้อยที่สุด คือ การเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนเข้าใจทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์มากขึ้น
( = 4.49, S.D. = 0.61)
11. การสะท้อนผลกลับ
จากการสรุปผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องเรียนที่ 10 จำนวน 37 คน มีค่าเฉลี่ยการประเมินโดยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมดีขึ้นและมีผลการเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา แสดงให้เห็นว่าการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา ช่วยให้นักเรียนนำไปใช้ได้สะดวก เรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย สามารถจำแนก แยกแยะ เปรียบเทียบได้แม่นยำขึ้น จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น