บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 คน ของ
โรงเรียนบ้านคำม่วมดงเย็น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการศึกษา คือ One Group Pre-test Pose-test Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ในรูปแบบครูมือครู 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Rank Test ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 80.29/82.38
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x- =4.51)