ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E
เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นางปราณี ชำนิธุระการ ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านท่าหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าหิน จำนวน 13 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืช จำนวน 8 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E จำนวน 15 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.94 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 แบบสอบถามความพึงพอใจ 1 ฉบับ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.64 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 82.46/90.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 มีค่าดัชนีเท่ากับ 0.2967 ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 29.67
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืช กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E สูงกว่าก่อนเรียนและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 ซึ่งมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด