บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลัง
อำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแก่ครูในโรงเรียนเทศบาลจองถนน(วัดบางแก้ว) 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแก่ครูในโรงเรียนเทศบาลจองถนน(วัดบางแก้ว) 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแก่ครูในโรงเรียนเทศบาลจองถนน(วัดบางแก้ว)และ4)เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแก่ครูในโรงเรียนเทศบาลจองถนน(วัดบางแก้ว) ในประเด็นต่อไปนี้ พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอยู่กลุ่มเป้าหมายคือครูและบุคลากรโรงเรียน เทศบาลจองถนน (วัดบางแก้ว) ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแก่ครูในโรงเรียนเทศบาลจองถนน (วัดบางแก้ว) และเอกสารคู่มือการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแก่ครูในโรงเรียนเทศบาลจองถนน (วัดบางแก้ว) เครื่องมือวัดพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และแบบประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การวิเคราะห์ข้อมูลระดับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูผลการประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง วิเคราะห์ข้อมูลสถิติบรรยาย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครู โดยการทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้รูปแบบเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มี 7 องค์ประกอบ ดังนี้
1.1 กำหนดเป้าหมายที่มีความหมาย
1.2 การรับรู้ความสามารถแห่งตน
1.3 ความรู้
1.4 สมรรถนะ
1.5 เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Authentic Learning)
1.6 สะท้อนคิด
1.7 สภาวะแวดล้อมในองค์กรที่เอื้อต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจ ได้แก่ การให้โอกาส การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความก้าวหน้าในวิชาชีพ และการทำงานเป็นทีม
2. ครูมีระดับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อยู่ในระดับปานกลาง หลังการอบรมอยู่ในระดับมาก และหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลจองถนน(วัดบางแก้ว) สังกัดสังกัดเทศบาลจองถนน ปีการศึกษา 2558 2559 มีแนวโน้มสูงขึ้น
4. ผลการประเมินรูปแบบเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านวัฒนธรรมการวิจัยมาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ มาตรฐานด้านความเหมาะสม และมาตรฐานด้านความถูกต้องและมาตรฐานด้านความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด