ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิตประจำวัน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา จิตรา วุฒิศักดิ์
สถานที่ศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพล เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิต ประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพล เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 ชุด (2) แผน การจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน ชั่วโมงสอน 18 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.84 และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่น ( ) เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองค่าจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (t-test for Paired Samples) ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.35/82.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิต ประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7416 แสดงว่าหลังจากนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนหรือมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 74.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 ที่ตั้งไว้
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 4 MAT หน่วยที่ 3 สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.66 S.D=0.21