ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางศรินยา แจ่มแจ้ง
ปีการศึกษา 2559
รายงานผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จัดเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก ดังนั้นผลการสุ่มได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 มีนักเรียนจำนวน 30 คน เป็นกลุ่มควบคุม และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 มีนักเรียนจำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง โรงเรียนเทศบาล ๓ (สระกระเทียม) ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ปรากฏผลการทดลอง ดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ จากทักษะชีวิต (Life skills) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities Learning) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการฝึกทักษะ (Practice) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการประเมินผล (Evaluation) โดยที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทีพัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.15 / 84.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. กลุ่มทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก
4. ผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้