บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อสร้างโปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
2. เพื่อหาคุณภาพของโปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
3. เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้โปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้โปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพทางกาย
เพื่อสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน3.
สมมุติฐานของการวิจัย
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน มีสมรรถภาพทางกาย
เพื่อสุขภาพ หลังใช้โปรแกรมดีขึ้น
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับมาก
วิธีดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชายหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 40 คน เป็นนักเรียนชาย 20 คน และนักเรียนหญิง 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก (Simple Random Sampling) จากจำนวนประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 106 คน เป็นนักเรียนชายจำนวน 39 คน นักเรียนหญิงจำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมออกกำลังกายแบบวงจรที่สร้างขึ้น จำนวน 8 สถานี แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้โปรแกรม แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ของกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
มีรายการทดสอบ 5 รายการ โดยนำไปใช้ในโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ปีการศึกษา 2559 แล้วนำผลมาวิเคราะห์ หาคุณภาพของโปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ IOC วิเคราะห์ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพก่อนและหลังการใช้โปรแกรมออกกำลังกายแบบวงจรโดยใช้ค่าเฉลี่ย x̄ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test วิเคราะห์ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้โปรแกรมโดยใช้ค่าร้อยละ
ผลของการวิจัย
ผลของการศึกษา พบว่าการใช้โปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นไปตามสมมุติฐานที่กำหนด คือ
1. โปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานมีคุณภาพ หรือค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ .89
2. คะแนนเฉลี่ยสัดส่วนของร่างกาย (Body Mass Index: BMI) ของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ก่อนการฝึกและหลังการแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. คะแนนเฉลี่ยความอ่อนตัว (ท่านั่งงอตัว) ของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ก่อนการฝึกและหลังการฝึกแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. คะแนนเฉลี่ยความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท่อนล่าง (นอนยกตัว 1 นาที) ของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ก่อนการฝึกและหลังการฝึกแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. คะแนนเฉลี่ยความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท่อนบน (ดันพื้น 1 นาที) ของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ก่อนการฝึกและหลังการฝึกแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. คะแนนเฉลี่ยความแข็งแรงและความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ
(เดิน / วิ่ง 1.6 กม.) ของนักเรียนชาย ก่อนการฝึกและหลังการฝึกแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
7. นักเรียนชายร้อยละ 86.67 และนักเรียนหญิงร้อยละ 93.34 มีผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพด้านความอ่อนตัว ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท่อนล่าง และความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท่อนบน ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ
8. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้โปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานพบว่าร้อยละ 66 มีความ
พึงพอใจระดับมากที่สุดและร้อยละ 31.5 มีความพึงพอใจระดับมาก ที่เหลือร้อยละ 2.5 มีความ
พึงพอใจระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนร้อยละ 80 เห็นว่ากิจกรรมออกกำลังกายที่จัดให้ช่วยพัฒนาสุขภาพคนอ้วนได้ ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และร้อยละ20
มีความพึงพอใจระดับมาก